อนาคตของการทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ ที่ทุกคนเข้าถึงได้ ผ่านระบบ AI Agent

ถ้าพวกเราเคยคิดว่า “หุ่นยนต์” หรือ “ระบบอัตโนมัติ” เป็นเรื่องไกลตัว หรือเข้าใจยาก ลองคิดใหม่! เพราะวันนี้  UiPath RPA platform บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีอัตโนมัติ กำลังพาเราเข้าสู่ยุคใหม่ที่การทำงานอัตโนมัติไม่ใช่แค่เรื่องของหุ่นยนต์ แต่เป็นระบบที่ “คิดเป็น” และ “ทำเป็น” ได้ด้วยตัวเอง มาเข้าใจกันแบบง่ายๆ ว่ามันคืออะไร และจะเปลี่ยนการทำงานของเราได้อย่างไร พร้อมไปกับที่แอดมินไปสรุปประเด็นสำคัญจาก research มาย่อยให้ฟังครับ

ประเด็นสำคัญจากรายงาน (UiPath Agentic AI reprt 2025 โดยคุณโธมัสและคุณเอียน – การเตรียมความพร้อมก่อนการมาถึงยุคแห่ง AI Agent)

ผลสำรวจ

  • 74% ขององค์กรเชื่อว่า Agentic AI จะช่วยลดเวลาการทำงานซ้ำๆ ได้มากกว่า 50%
  • 68% คาดว่าเทคโนโลยีนี้จะเพิ่มความแม่นยำในการทำงาน และลดความเสี่ยงจากข้อผิดพลาดของมนุษย์
  • 81% ของผู้บริหารเห็นว่า Agentic AI จะเป็นตัวเร่งสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลขององค์กร
  • ความท้าทาย
    • ความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (45% ขององค์กร)
    • การปรับกระบวนการทำงานเดิมให้สอดคล้องกับ AI (37%)
    • การฝึกอบรมพนักงาน ให้ใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ (29%)
  • แนวโน้มในอนาคต
    • UiPath คาดว่า ภายในปี 2026 องค์กรกว่า 60% จะใช้ Agentic AI เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำงานหลัก
    • เทคโนโลยีนี้จะถูกผนวกเข้ากับเครื่องมืออัตโนมัติที่มีอยู่ เช่น RPA (Robotic Process Automation) เพื่อสร้างระบบที่ทั้ง “คิดเป็น” และ “ทำเป็น”

คราวนี้เรามาดูเมื่อเกิดการผนวก ระบบที่ “คิดเป็น” และ “ทำเป็น” เข้าไว้ด้วยกัน จะเกิดอะไรขึ้น พร้อมตัวอย่าง และเครื่องมือต่างๆ ที่พวกเรา Automat Consulting ไปลองไปเล่น และพร้อมนำเสนอมีอะไรกันบ้าง

1. ระบบอัตโนมัติแบบเดิม vs ระบบอัตโนมัติแบบใหม่

  • ระบบอัตโนมัติแบบเดิม: เป็นเหมือนโปรแกรมซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ที่ทำตามคำสั่งที่เราตั้งไว้ เช่น คัดลอกข้อมูลจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง หรือกรอกแบบฟอร์มซ้ำๆ โดยที่มันไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้เอง
  • ระบบอัตโนมัติแบบใหม่: ระบบนี้จะฉลาดขึ้น มันสามารถ “คิด” และ “ตัดสินใจ” ได้ด้วยตัวเอง เช่น ถ้ามีข้อมูลผิดปกติ มันจะแจ้งเรา หรือแก้ไขได้ทันทีโดยไม่ต้องรอคำสั่ง

2. Agentic Automation: ระบบที่คิดเป็น

ลองนึกภาพระบบอัตโนมัติที่เหมือนมีสมองของตัวเอง มันสามารถเรียนรู้จากข้อมูลที่ได้รับ และปรับปรุงตัวเองให้ทำงานได้ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ต้องให้มนุษย์คอยควบคุมตลอดเวลา
ตัวอย่างเช่น:

  • ถ้ามีอีเมลเข้ามา ระบบสามารถอ่านและตัดสินใจได้ว่าเป็นเรื่องด่วนหรือไม่ ถ้าด่วนก็ส่งต่อให้คนที่เกี่ยวข้องทันที
  • ถ้ามีข้อมูลผิดปกติในระบบ ระบบสามารถตรวจสอบและแก้ไขได้เองโดยไม่ต้องรอให้มนุษย์เข้ามาดูแล
  • ในกระบวนการ ที่ระบบเข้าใจ จะทำเองให้จบ หรือส่งต่อให้มนุษย์ตัดสินใจอีกที ได้หมด

3. Robotic Automation: ระบบที่ทำเป็น

ส่วนนี้คือระบบที่ทำงานซ้ำๆ ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว เช่น:

  • กรอกข้อมูลลงในระบบทีละหลายร้อยรายการ
  • คัดลอกข้อมูลจากเอกสารหนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
  • จัดเรียงข้อมูลใน Excel โดยไม่ผิดพลาด

ระบบนี้ช่วยลดเวลาการทำงานและลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดจากมนุษย์ได้อย่างมาก

4. อนาคตคือการรวมกันของ Agentic และ Robotic

UiPath กำลังพัฒนาระบบที่ผสานความสามารถของทั้งสองรูปแบบเข้าด้วยกัน นั่นคือระบบที่ทั้ง “คิดเป็น” และ “ทำเป็น” ในเวลาเดียวกัน
ตัวอย่างเช่น:

  • ระบบสามารถอ่านอีเมลที่ลูกค้าส่งมา เข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไร แล้วจัดการคำขอนั้นได้เองโดยอัตโนมัติ
  • ระบบสามารถตรวจสอบข้อมูลในระบบบัญชี และแก้ไขข้อผิดพลาดได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้มนุษย์เข้ามาดูแล

5. ประโยชน์ที่ทุกคนจะได้รับ และอนาคตที่ทุกคนเข้าถึงได้

  • ทำงานเร็วขึ้น: ระบบอัตโนมัติช่วยลดเวลาการทำงานซ้ำๆ ทำให้เรามีเวลาไปโฟกัสกับงานที่สำคัญกว่า
  • แม่นยำมากขึ้น: ระบบอัตโนมัติทำผิดพลาดน้อยกว่ามนุษย์ โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้ความละเอียด
  • ลดต้นทุน: เมื่อระบบทำงานแทนมนุษย์ได้ บริษัทก็สามารถลดค่าใช้จ่ายในการจ้างคนทำงานซ้ำๆ ได้
  • สร้างได้ด้วยตัวพวกเราเอง ง่ายและทำได้ด้วยผู้ใช้งานเอง พัฒนาให้เก่งขึ้นด้วยเครื่องมือที่เข้าถึง ใช้ง่าย

UiPath Platform กำลังพาเราเข้าสู่ยุคใหม่ที่ระบบอัตโนมัติไม่ใช่แค่เครื่องมือทำงาน แต่เป็นเพื่อนร่วมงานที่ช่วยคิดและช่วยทำได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าคุณจะเป็นนักบัญชี นักการตลาด หรือแม้แต่คนทั่วไปที่อยากทำงานให้ง่ายขึ้น ระบบอัตโนมัติแบบใหม่นี้จะช่วยให้ชีวิตการทำงานของคุณดีขึ้นแน่นอน คราวนี้มาดูตัวอย่างที่ระบบได้เตรียมเริ่มต้นไว้ให้ มีอะไรกันบ้าง

1. UiPath Autopilot: เครื่องมือไว้ติดต่อกับ ai (จาก UiPath)

เคยไหม? อยากให้คอมพิวเตอร์ทำงานแทน แต่ไม่รู้จะเขียนโปรแกรมยังไง… UiPath Autopilot คือคำตอบ! โดยระบบจะให้เราใช้ผ่านทางการสั่งให้ Agent ไปทำงานให้ และหากเป็นคำสั่งใหม่ๆ เราสามารถเลือก หรือสร้าง Agent ใหม่ได้ด้วยผ่าน UiPath Agent Builder (ซึ่งแอดมิน จะเขียนแชร์ต่อในตอนหน้าๆ)

  • Autopilot คืออะไร: คิดซะว่าเป็นระบบอัตโนมัติที่คุณสั่งงานเป็นภาษาพูดหรือข้อความได้เลย เช่น บอกว่า “จัดเรียงข้อมูลใน Excel ให้หน่อย” หรือ “ส่งอีเมลแจ้งลูกค้าเมื่อมีสินค้ามาในสต็อก” ระบบจะแปลงคำพูดของคุณเป็นกระบวนการทำงานอัตโนมัติทันที
  • ตัวอย่างการใช้งาน:
    • คุณบอก Autopilot ว่า “สร้างรายงานสรุปยอดขายรายสัปดาห์” ระบบจะดึงข้อมูลจาก Excel มาแปลงเป็นกราฟสวยๆ ให้เอง
    • ลูกค้าถามคำถามทางแชท Autopilot จะค้นหาคำตอบจากข้อมูลบริษัทและตอบกลับอัตโนมัติ

2. Context Grounding: ระบบที่ “เข้าใจบริบท” เหมือนมนุษย์เราๆนี่เลย

ทำไมบางครั้งหุ่นยนต์ตอบคำถามแปลกๆ? เพราะมันไม่เข้าใจ “ความหมาย” ของสิ่งที่คุณถาม! UiPath เลยเสริมฟีเจอร์ Context Grounding ให้ระบบเข้าใจบริบทงานแบบเจาะลึก

  • Context Grounding คืออะไร: ระบบจะวิเคราะห์ข้อมูลแวดล้อม เช่น ประวัติลูกค้า ข้อมูลบริษัท หรือเอกสารอ้างอิง เพื่อตอบคำถามหรือตัดสินใจได้แม่นยำขึ้น
  • ตัวอย่างการใช้งาน:
    • เมื่อลูกค้าถามว่า “สถานะการส่งของฉันเป็นยังไง?” ระบบจะดึงข้อมูลการจัดส่งจากอีเมลและฐานข้อมูลมาแสดงผลได้ทันที
    • ถ้ามีเอกสารกฎหมายเข้ามา ระบบจะอ่านและสรุปประเด็นสำคัญโดยอ้างอิงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

3. Intelligent Document Processing (IDP): ระบบอ่านเอกสารอัจฉริยะ

เคยปวดหัวกับเอกสารเป็นร้อยหน้าไหม? IDP คือผู้ช่วยอ่านเอกสารที่ทำงานแทนคุณได้ในคลิกเดียว!

  • IDP คืออะไร: ระบบ AI ที่สแกน อ่าน และประมวลผลเอกสารทุกประเภท (PDF, ใบแจ้งหนี้, สัญญา) แบบอัตโนมัติ แม้แต่ลายมือเขียนก็อ่านได้
  • ตัวอย่างการใช้งาน:
    • ส่งใบแจ้งหนี้เข้าไปในระบบ IDP จะดึงข้อมูลเช่น วันที่, จำนวนเงิน, เลขที่ invoice ออกมาเก็บใน Excel ให้เอง
    • กรอกแบบฟอร์มใบลาโดยการถ่ายรูป ส่งให้ IDP ระบบจะแปลงภาพเป็นข้อมูลดิจิทัลพร้อมจัดเก็บให้เองเลย

Source:
 UiPath Platform: The Future is Agentic and Robotic

https://www.uipath.com/newsroom/agentic-ai-report-findings

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *