Case Studies – DHL ปรับทีมงาน เปลี่ยนกระบวนการ เพื่อเพิ่มศักยภาพ สินค้าถึงมือลูกค้าได้รวดเร็วด้วย RPA

Series ในตอนของ use case ที่น่าสนใจการนำเอา RPA ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการธุรกิจ logistics ตอนที่ 3 โดยแชร์ถึงแนวคิดก่อนการปรับใช้เทคโนโลยี RPA ไปถึงการทำ quick-win ด้วย pilot process ที่ประสบความสำเร็จ ไปจนถึงอนาคตที่จะเลือกเอา Ai + OCR มาใช้ต่อไป มาติดตามกันครับ

แวดวงธุรกิจบริการโลจิสติกส์ ไม่มีใครไม่รู้จักพี่ใหญ่อย่าง DHL บริการขนส่งสินค้ารวดเร็วในทุกช่องทาง โดยเคสที่จะนำมาแชร์ในวันนี้คือ DHL Global Forwarding, Freight หรือ DGFF อยากจะเพิ่มศักยภาพกระบวนการขนส่งสินค้าให้บริการให้ดีขึ้นไปโดยเริ่มจากการจัดตั้งทีมภายใน ปรับทีมให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และพร้อมรับการต่อขยายเพื่อให้ใช้บริการนี้ไปในทุกภูมิภาคได้

โดยพื้นฐาน DGFF ให้บริการทั้งส่งด่วนทุกช่องทางทั้งพื้นดิน ทางทะเล ทางเครื่องบินโดยมีพนักงานให้บริการทั้งสิ้น 4,500 คน เมื่อผู้บริหารและทีมงานเลือกทั้งที่ปรึกษาและเครื่องมือ RPA ที่เหมาะสมคือ UiPath ก็เริ่มต้นทำ Pilot (Quick-win process) เรียกว่า “Post Flight” โครงการขึ้นมาโดยเริ่มจากการปรับกระบวนการภายในโดยเอาโปรแกรมอัตโนมัติมาเชื่อมข้อมูลจาก division operations systems มารวมกับข้อมูล flight data (จากสายการบิน) ทำรายงานเชิงลึก เพื่อตรวจสอบดูว่าไฟลท์บิน และการขนส่งถูกต้องตรงเวลาตามแผนงานหรือไม่ (delay) ถ้าไม่เป็นเพราะเหตุใด ทำให้เห็นข้อมูลเชิงลึกและนำไปปรับปรุงบริการในอนาคตได้ ในกระบวนการนี้ปกติถ้าเป็นพนักงานทำต้องใช้ถึง 30 คนแต่เมื่อใช้ RPA ลดเวลาให้พนักงานไปถึง 50% แล้วปรับพนักงานที่เหลือไปช่วยในกิจกรรมด้านอื่น ๆ เพื่อให้การขนส่งไปถึงมือลูกค้าได้เร็วกรณีไฟลท์บินดีเลย์เป็นต้น กระบวนการนี้เริ่มต้น พัฒนาและใช้งานจริงสำเร็จใน 1 เดือน ประหยัดแรงงานคนไปได้ 50% (300 FTE) เซฟเวลาที่ได้ให้คนไปทำงานสร้างสรรค์ด้านอื่น  

ที่ DHL เมื่อกระบวนการแรกได้ผลลัพธ์ออกมาดี จึงได้ปรับทีมงานเรียกว่า CoE หรือ Center of Excellence แต่ที่นี่จะเรียกเป็นชื่อภายในเองว่า VDC หรือ Virtual Delivery Center ซึ่งประกอบไปด้วยคนประมาณ 30 คนโดยทีมนี้มีหน้าที่คัดสรรกระบวนการ ออกแบบกระบวนการทำงานเชื่อมกันระหว่างพนักงานและโปรแกรมหุ่นยนต์ (UiPath Robots) และในปัจจุบันขยายผลของกระบวนใหม่ทั่วโลก (ยุโรป จีน อเมริกาใต้) ซึ่งความท้าทายในแต่ละภูมิภาคที่มีกระบวนการแตกต่างออกไป เอกสารในแต่ละท้องถิ่นที่ใช้ไม่เหมือนกัน แต่ก็จัดการได้ด้วยการออกแบบที่ดี และเครื่องมือ RPA ที่ยืดหยุ่น

ปัจจุบัน DHL ใช้งานและพัฒนาโปรแกรมหุ่นยนต์อัตโนมัติมากกว่า 80 โรบอท และในขั้นตอนต่อจากนี้ไปทีมมองไปที่การนำเอา ai (ปัญญาประดิษฐ์) และ OCR technology มาเชื่อมโยงกับกระบวนการอัตโนมัติ RPA เพื่อทำความเข้าใจ แยกเยอะประเภทเอกสาร และสุดท้ายคือการมองไปทั้งกระบวนการ (End to End process) 

ทั้งนี้ผู้เขียนจะขอนำเสนอการจัดการเอกสารในแวดวง logistic พวกใบขน  manifest D/O และเอกสารต่าง ๆ ในโอกาสถัดไปครับ 

source:

https://www.uipath.com/resources/automation-case-studies/dhl-global-forwarding-freight