8 ไอเดียง่ายๆ สู่ความสำเร็จของระบบอัตโนมัติ “Automate to Thrive : 8 steps to launch you automation journey” #1

หลายคนเห็นไปกันแล้วว่าทุกวันนี้ RPA ไม่ใช่เพียงนวัตกรรมหนึ่งในองค์กรแล้ว แต่เป็น “สิ่งที่ขาดไม่ได้” สำหรับพนักงานไปเสียแล้ว เหมือนได้ “ผู้ช่วยดีๆ” มาแบ่งเบาภาระงานเช่น การคีย์ข้อมูลเข้าสู่ระบบ การต้องรวบรวมข้อมูลเพื่อทำรายงาน การทำข้อมูลเงินเดือน ทั้งหมดล้วนเป็นงานที่ต้องใช้เวลา พลังกายเยอะมาก จะดีกว่าถ้ามี “ผู้ช่วย” มาแบ่งเบาหรือไม่ก็ทำแทนไปเลย

วันนี้มาเล่าเนื้อหาบทความดีๆ ในการเริ่มต้นและประสบความสำเร็จไปกับ “การเดินทาง” สู่ระบบอัตโนมัติ หรือ RPA กันครับ ไอเดียดีๆเหล่านี้ได้จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้งานจริง และพิสูจน์มาแล้วว่า “มันใช่เลย”  มาดูว่า 8 แนวคิดมีอะไรกันบ้าง

  1. Just do it 
  2. Start small, fail fast
  3. Get tech-savvy employees as RPA advocates
  4. Win over your employees
  5. Training for the future
  6. Do not set and forget
  7. Get IT on board
  8. Understand what customers want
automation journey

ไอเดียที่หนึ่ง | จงเริ่ม และทำมันซะ

ประโยคทองของไนกี้ใช้ได้ดีกับเรื่องนี้ หลายๆครั้งอุปสรรคที่มาตั้งแต่เริ่มคือหลายๆคนคิดว่า RPA จะมาเปลี่ยนแนวทางการทำงานไปอย่างสิ้นเชิง ทุกอย่างที่ทำต้อง automatic ทั้งหมดจนลืมไปว่า การเริ่มต้นอย่างง่ายๆ เข้าใจก่อนว่า RPA จะมาช่วยลดเวลาคนทำงาน ลดความผิดพลาด และหากระบวนการง่ายๆมาพิสูจน์ให้เห็นกันก่อนค่อยต่อขยายออกไป หลายองค์กรคิดและมองไกลจนสุดท้ายเริ่มช้าหรือยังไม่ได้ทำเลย

ไอเดียที่สอง  | เริ่มเล็กๆแต่ให้ทรงพลัง (และเรียนรู้)

หา S.W.A.T ทีมให้พบ เริ่มโครงการง่ายๆ (แต่ทรงพลัง – Quick win process) แล้วเริ่มต้นทำ ไม่แปลกที่จะพบอุปสรรคหรือความล้มเหลว จงเรียนรู้กับมันแล้วเริ่มต้นใหม่ ในตอนเริ่มต้นในลักษณะนี้เราไม่จำเป็นเลยที่ต้องพิสูจน์ว่าเครื่องมือ robots มันเวิร์คแต่ให้พิสูจน์ไปที่กระบวนการที่ robots มาช่วยได้พัฒนาไปอย่างไร หลายๆครั้งตอนแอดมินไป implement ความสำเร็จในรูปแบบนี้จะเป็น ปากต่อปาก และแผนกอื่นๆ ผู้บริหารจะเรียกเข้าไปสอบถามและอนุมัติให้ทำ robot ในกระบวนการต่อไปเอง

ไอเดียที่สาม  | ต้นกล้าสู่ความสำเร็จ

คนนับเป็นทรัพยากรที่สำคัญมากที่สุดในองค์กร จะดีกว่าถ้าไปเริ่มต้นที่การให้ความรู้ความเข้าใจในการสร้าง robots แก่ผู้ใช้งานตัวจริง ซึ่งถ้าเราไปถึงขั้นปรับให้เค้าเป็น Citizen Developers ได้โอกาสแห่งความสำเร็จอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมมือ เพราะคนๆนี้จะเป็นผู้สร้าง โชว์ แชร์ เรื่องราวของ use case ในองค์กรให้เอง ซึ่งในปัจจุบันการเริ่มต้นโครงการไม่เป็นเพียงการสั่งจากด้านบนลงล่าง หรือจากเสียงด้านข้างไปสู่ผู้บริหารอย่างเดียวแล้ว มันเกิดขึ้นได้จากสองด้านเลย สำคัญคือระบบการฝึกอบรมที่จะปรับเปลี่ยนจากผู้ใช้อย่างเดียว ให้เป็นผู้สร้างได้นั่นเอง

ไอเดียที่สี่       | แบ่งปันและรับฟังเรื่องราวของดีมีต้องโชว์ ขั้นตอนนี้จะทำหลังจากผ่านพ้น Quick-win process ไปแล้ว โดยเล่าเรื่องในลักษณะความดีงามของ robots ที่มาช่วยงานของบุคคลคนนั้นๆ หรือทีมงานนั้นๆ เล่าสู่กันฟังทั้งพนักงานทั่วไปในองค์กรทั้ง GenX ไปสู่ GenZ โดยเชื่อได้ว่าถ้ามีการเตรียมแผนการเล่าที่ดีรวมไปถึงการทำ change management ที่ดีความสำเร็จนี้จะถูกส่งต่อไปเป็นแผนการพัฒนา robots เพื่อทุกๆคนในระยะยาว มีเครื่องมืออย่าง UiPath Automation Hub ที่เป็นตัวช่วยบันทึก แบ่งบันและโหวตไอเดียการสร้าง robots อีกด้วย

RPA Approach
Long Tail of Work – RPA

ที่เหลือมาต่อครั้งหน้ากันครับ ขอบคุณทุกคนที่ติดตาม

Credit:

ข้อมูลและภาพประกอบจาก

https://www.uipath.com/solutions/whitepapers/steps-launch-automation-journey

https://pxhere.com/

ระบบอัตโนมัติสำหรับทุกคนในองค์กร “A Robot For Every Person” กุญแจสู่ความสำเร็จของ Digital Transformation

ในทุกวันนี้หลายๆองค์กรทำโครงการ Digital Transformation ไปในหลากหลายในทุกวันนี้หลายองค์กรทำโครงการ Digital Transformation ไปในหลากหลายทิศทาง บทความวันนี้จะแชร์ในอีกหนึ่งมุมมองโดยเน้นที่ “ทรัพยากรบุคคล” ที่น่าจะสำคัญมากที่สุดสำหรับองค์กรที่จะช่วยขับเคลื่อนองค์กรไปในทิศทางที่ท้าทายมากๆ จะดีกว่านี้หรือไม่หากเราขับเคลื่อนกระบวนการนวัตกรรมผ่าน “ความเห็นชอบ” โดยให้เครื่องมือที่ไปช่วยลดการทำงานซ้ำๆ ปริมาณมาก ให้พนักงานไปทำงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ การตัดสินใจยากๆแทน และให้โอกาสกับพนักงานด่านหน้า ที่เค้า “เห็น” ปัญหาที่ชัดเจนกว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขับเคลื่อนโครงการสู่ความสำเร็จ

ในทุกวันนี้หลายๆองค์กรทำโครงการ Digital Transformation ไปในหลากหลายในทุกวันนี้หลายองค์กรทำโครงการ Digital Transformation ไปในหลากหลายทิศทาง บทความวันนี้จะแชร์ในอีกหนึ่งมุมมองโดยเน้นที่ “ทรัพยากรบุคคล” ที่น่าจะสำคัญมากที่สุดสำหรับองค์กรที่จะช่วยขับเคลื่อนองค์กรไปในทิศทางที่ท้าทายมากๆ จะดีกว่านี้หรือไม่หากเราขับเคลื่อนกระบวนการนวัตกรรมผ่าน “ความเห็นชอบ” โดยให้เครื่องมือที่ไปช่วยลดการทำงานซ้ำๆ ปริมาณมาก ให้พนักงานไปทำงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ การตัดสินใจยากๆแทน และให้โอกาสกับพนักงานด่านหน้า ที่เค้า “เห็น” ปัญหาที่ชัดเจนกว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขับเคลื่อนโครงการสู่ความสำเร็จ

ไม่แปลกเมื่อโดยปกติการนำโครงการจะเป็นในลักษณะบน-ล่าง โดยผู้บริหารโครงการจะอาจจะเป็น CIO หรือทีมงานบริหารโครงการที่มักจะมองไปในบนกว้างโดยเริ่มจากระบบ (systems) หรือกระบวนการ (workflows) ซึ่งเรามักจะพบระบบในกระบวนการต่างๆที่ไม่ต่อเชื่อมและทำให้เกิดความซับซ้อนในการแก้ไข ทำให้การพัฒนาล่าช้าและต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ๆในการจัดการ ซึ่งก็ตามมาด้วยต้นทุนที่สูงและใช้ระยะเวลานาน แต่เมื่อลองมา “คิดแบบกลับหัว” Bottom-up เราจะเห็นได้ว่าพนักงานด่านหน้าจะใกล้ชิดและ “รู้ปัญหา” ดีกว่า เค้ารู้ว่างานไหนสำคัญ งานไหนต้องทำบ่อยแค่ไหนดีกว่าทีมงานโครงการ ถ้าองค์กรให้เครื่องมือพร้อมความรู้ในการจัดการได้ พนักงานจะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเพราะเครื่องมือที่เราให้เขานั้น “ตอบโจทย์” กับแผนกหรือตัวเขาโดยตรง และระบบจะถูกปรับเป็นดิจิตอลโดยอัตโนมัติเพราะเขาจะเป็นผู้โหวต ผู้เห็นชอบและให้ความร่วมมือกับการปรับเปลี่ยนกระบวนการเป็นระบบอัตโนมัติ (robots) เอง หรือแม้กระทั่งเป็นผู้สร้าง ผู้ดูแลและใช้งานเองด้วย เมื่อทุกคนในทีมร่วมใจ ไร้แรงต่อต้านและใช้เครื่องมือที่ง่ายก็จะทำให้การปรับกระบวนการจาก manual process – digital process ผ่านการทำ automation เป็นได้ดั่งที่วางแผนกันเอาไว้

Fully Automation from UiPath RPA

ทั้งนี้ IDC ได้มีบทวิจัยที่พูดถึงความพึงพอใจถึง 71% เมื่อมีเครื่องมือ (robots) มาช่วยพนักงานที่อยู่ด่านหน้า เราจะได้ปริมาณพร้อมจำนวนคุณภาพของ robots ที่จะมาช่วยงานกระบวนที่ต้องทำบ่อยๆได้โดยอัตโนมัติ โดยอาจจะแบ่งวิธีการทำงานร่วมกันระหว่าน คน vs หุ่นยนต์ (robots) ได้หลากหลายแนวทางดังนี้

  1. การแบ่งเบาภาระงานให้กับ robots ไปทำแทน (คนสั่งให้ robots ไปทำแทนเลย)
  2. การพูดคุยและประสานงานกับ robots (robots ทำแล้วมาถามหากเจอเงื่อนไขต่างๆว่าต้องทำอะไรต่อ)
  3. ทำงานควบคู่กันไป ไม่รบกวนซึ่งกันและกัน (ต่างฝ่ายต่างทำงานประสานกัน ในเวลาเดียวกันได้)
  4. เชื่อมต่อระหว่างคนและ robots ด้วย web application หรือ mobile เป็นต้น (ไร้รอยต่อ)

สู่ยุคของ “Democratize Innovation” การฟังเสียงส่วนมากเพื่อการพัฒนานวัตกรรม โดยหลักคิดคือองค์กรให้ความรู้เรื่องระบบอัตโนมัติ องค์ความรู้ในเครื่องมือทางเทคนิคที่เหมาะสมกับพนักงานในแผนกต่างๆ และให้ทุกคนมี “สิทธิ์” ในการออกไอเดียในการเลือกพัฒนา robots สำหรับกระบวนการต่างๆ สิทธิ์ในการใช้เครื่องมือเหล่านี้ก็เพื่อตอบโจทย์งานในปัจจุบันของเขานั่นเอง โดยเราแบ่งเครื่องมือนี้ออกเป็นสองรูปแบบ (ยกตัวอย่างจาก RPA platform – UiPath) เพื่อให้องค์กรขับเคลื่อนไปสู่การเป็น Fully automated enterprise อีกทั้งยังคำนึงถึงการควบคุมนโยบายองค์กรที่ถูกต้องและรัดกุมอีกด้วย

  • การให้ช่องทางในการออกไอเดีย ระดมความคิด และการให้เครื่องมือที่ง่ายในการพัฒนา robots ขึ้นมาจากตัวพนักงานด่านหน้าเอง  – UiPath StudioX, Automation Hub
  • การใช้เครื่องมือที่ช่วยให้การเข้าถึง robots ง่ายขึ้นไปอีก เช่นเข้าถึง สั่งงาน ติดตาม robots ผ่านทาง Mac, Mobile หรือ web application เป็นต้น – UiPath Assistant, UiPath App 

หมายเหตุ – การขยายการใช้งาน robots โดยไม่ลืมแนวคิดของ Governance (นโยบาย ความปลอดภัยและความถูกต้อง) – UiPath Orchestrator

UiPath Product Platform 2021

สรุป บทความนี้จะเน้นไปถึงแนวคิดใหม่ที่องค์กรในยุคนี้ต้องคำนึงถึง หากอยากจะประสบความสำเร็จในการทำ Digital Transformations และการปรับปรับระบบในปัจจุบันให้เป็นระบบอัตโนมัติและปรับให้เป็นดิจิตอล โดยการใช้เครื่องมือที่ง่ายและได้รับการยอดรับจากพนักงานทุกฝ่าย ทุกแผนก เพราะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้พวกเขา “โหวต” หรือ “สร้าง” หรือ “กำหนด” ได้ด้วยตนเอง โดยทุกอย่างจะอยู่ในความควบคุมในด้านนโยบายความถูกต้องและปลอดภัย ซึ่งไม่แน่ว่าในอนาคตอันใกล้ ทุกคนในองค์กรจะสามารถใช้งาน สร้าง robots ได้เหมือนทุกวันนี้ที่ในทุกองค์กรจะให้ อีเมลแอคเค้าน์ พื้นที่จัดเก็บ หรือระบบ office ใช้กันทุกคน

อ้างอิงจาก

Gartner predicts (https://www.gartner.com/en/newsroom/press-releases/2020-09-21-gartner-says-worldwide-robotic-process-automation-software-revenue-to-reach-nearly-2-billion-in-2021)

A_Robot_for_Eevery_Person_White_Paper (https://www.uipath.com/rpa/robot-every-person)

โอกาสในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยเทคโนโลยี RPA สำหรับธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่งยานยนต์

โอกาสในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยเทคโนโลยี RPA สำหรับธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่งยานยนต์

การนำเทคโนโลยีที่เรียกว่า Robotic Process Automation (RPA) มาใช้ปรับปรุงกระบวนการทำงานในองค์กร มีความร้อนแรงเพิ่มขึ้นอย่างมากในระยะเวลา 2-3 ปีมานี้ เราได้เห็นการขยายตัวทางธุรกิจของบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์ RPA เพิ่มขึ้นแทบทุกส่วนของโลก รวมถึงการไอพีโอของเจ้าตลาดอย่าง UiPath ในเดือนเมษายน 2564 ซึ่งทำให้บริษัทมีมูลค่าทางการตลาดสูงกว่า 35 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปิดตลาดวันแรก แล้วในแง่ของซอฟท์แวร์เอง RPA เหมาะกับใครบ้าง?

ถ้าเรามองว่า RPA เหมาะสมเป็นอย่างมากกับรูปแบบกระบวนการทำงานที่อย่างน้อยต้องมี มีปริมาณธุรกรรมสูง (High Volume) มีลักษณะการทำซ้ำสูง (Repetitive) และควรมีกฎเกณฑ์ที่กำหนดอย่างแน่นอน (Rule-Based) เพื่อให้หุ่นยนต์หรือบอตเข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อนเหมือนเวลาที่เราสั่งงานลูกน้องหรือขอความช่วยเหลือให้ใครทำอะไรให้ ธุรกิจสินเชื่อและเช่าซื้อก็เป็นอีกกลุ่มที่น่าสนใจ

ตลาดของผู้ประกอบการสินเชื่อเช่าซื้อยานยนต์ หรือกลุ่มลีสซิ่งจัดเป็นเซ็กเมนท์ทางธุรกิจที่มีขนาดใหญ่เซ็กเมนท์หนึ่งในบ้านเรา โดยคลอบคลุมธุรกิจเช่าซื้อเพื่อที่จะเป็นเจ้าของเมื่อชำระงวดครบ ธุรกิจลีสซิ่งที่ผู้เช่าจะส่งมอบยานยนต์กลับคืนสู่ผู้ให้เช่าเมื่อครบสัญญา และธุรกิจสินเชื่อที่ใช้ยานยนต์เป็นหลักประกันในการกู้เงินหรือที่เรียกว่าการจำนำทะเบียน ทั้งนี้ยานยนต์ที่ว่าก็มีตั้งแต่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถบรรทุก รวมทั้งรถเช่าในองค์กร ข้อมุลจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ณ ไตรมาส  3 ปี 2562 สินเชื่อเช่าซื้อยานยนต์มีมูลค่า 1.1 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 24.0% ของยอดคงค้างสินเชื่ออุปโภคบริโภคของระบบธนาคารพาณิชย์  

ในแง่ผู้ประกอบการ เราสามารถแบ่งประเภทของผู้ประกอบการออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆด้วยกันคือ (1) สถาบันการเงิน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธนาคารพาณิชย์ สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และธุรกิจในเครือธนาคาร ถือเป็นสัดส่วนที่มีมากที่สุด (2) ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทสินเชื่อเช่าซื้อของค่ายรถยนต์ และ (3) กลุ่มน็อนแบงค์ เมื่อมองลึกเข้าไปถึงลักษณะของกระบวนการทำงานและโอกาสในการเพิ่มประสิทธิภาพ เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า ธุรกิจนี้ มีปริมาณธุรกรรมสูง (High Volume) ตามจำนวนยานยนตร์และจำนวนลูกค้า มีลักษณะการทำซ้ำ (Repetitive) ของกระบวนการอย่างการเปิดหรือปิดแต่ละสัญญาหรือการตรวจสอบยอดชำระเงินจากลูกค้า กฎเกณฑ์ที่กำหนดได้ (Rule-Based) เพื่อให้บอตทำงานได้ตามที่ออกแบบ ในขณะที่การทำงานด้วยข้อมูลที่เป็นรูปแบบดิจิตอลอาจแตกต่างกันในแต่ละบริษัท บางบริษัทอาจมีความพร้อมอยู่แล้ว ในขณะที่บางบริษัทต้องมีการปรับกระบวนการเตรียมข้อมูลให้เป็นแบบดิจิตัลก่อน ถึงค่อยใช้บอตทำงานได้

รูปแบบการทำงานของระบบอัตโนมัติ

Fleet Innovation Oy เป็นบริษัทในประเทศฟินแลนด์ที่ให้บริการรถเช่าเพื่อใช้งานองค์กร ควบคู่ไปกับบริการอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องกับรถยนต์  จัดเป็นหนึ่งในบริษัทที่เห็นถึงโอกาสของการปรับปรุงระบบการทำงานของตนเอง  โดยใช้ซอฟท์แวร์ RPA ของบริษัท UiPath เข้ามาแก้ปัญหาของแผนกบัญชีที่พนักงานต้องใช้เวลาจำนวนมากไปกับการจัดการกับใบแจ้งหนี้ที่เพิ่มจำนวนขึ้นตามการเติบโตของบริษัท ก่อให้เกิดความท้าทายแก่การบริหารระบบงานที่ต้องใช้เวลาของพนักงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด จนถึงปัจจุบัน Fleet Innovation Oy ใช้บอตจัดการกับ 45% ของปริมาณใบแจ้งหนี้ที่มีอยู่ราว 6,000 ใบในแต่ละเดือน ผ่านกระบวนการที่พัฒนาให้เป็นระบบอัตโนมัติ (Invoice Automation) ทำให้เวลาของพนักงานที่เดิมหมดไปกับการรับและบันทึกข้อมูลเข้าระบบและตรวจสอบความถูกต้องก่อนการจ่ายเงิน ถูกนำไปใช้ในเรื่องอื่นที่เป็นประโยชน์กว่า อย่างการติดต่อหรือให้บริการลูกค้า ซึ่งเป็นจุดแข็งซึ่งสร้างความแตกต่างให้กับบริการของบริษัท

รูปแบบกระดาษใบสมัครที่ยังคงต้องให้พนักงานทำการตรวจสอบด้วยสายตา และนำเข้าข้อมูลเอง

ในประเทศไทยเอง ก็ได้มีการนำเทคโนโลยี RPA เข้ามาใช้ปรับปรุงกระบวนการทำงานของบริษัทในธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่งยานยนต์ด้วยเหมือนกัน เช่น บริษัทซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการให้สินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของไทย ใช้ซอฟท์แวร์ RPA ของบริษัท UiPath มาพัฒนาระบบตรวจสอบการชำระเงินค่างวดของลูกค้าผ่านช่องทางธนาคารอิเลคโทรนิคและบันทึกรายการเพื่อตัดหนี้ในระบบบัญชี ประหยัดเวลาการทำงานลงได้มาก ทั้งจากการที่ไม่ต้องไปตรวจสอบความถูกต้องของงาน และการที่ Bot ทำการบันทึกข้อมูลได้เร็วกว่าคนมาก อีกตัวอย่างหนึ่ง บริษัทผู้ประกอบการเช่าซื้อรถยนต์ของค่ายรถรายใหญ่ของประเทศ นำซอฟท์แวร์ RPA ของบริษัท UiPath อีกเหมือนกัน มาใช้บันทึกข้อมูลธุรกรรมที่ต้องทำเป็นปริมาณมากกว่าช่วงปกติเนื่องจากบริษัทอยู่ในระหว่างการย้ายระบบแอพพลิเคชั่น จึงต้องระดมพนักงานมาเร่งทำงานนอกเวลา เนื่องจากมีกรอบเวลาที่ไม่สามารถล่าช้าได้ ส่วนประโยชน์ในเรื่องอื่น RPA ยังถูกใช้ในการจัดทำรายงานสรุปยอดรายวันของรถยนต์ที่จะถูกนำออกขายทอดตลาด ซึ่งบอตสามารถเริ่มบันทึกข้อมูลได้ทันทีเมื่อปิดบัญชีและจัดทำรายงานอย่างรวดเร็ว

นอกเหนือจากตัวอย่างข้างต้นแล้ว เรายังสามารถนำระบบ RPA มาใช้ปรับปรุงกระบวนการทำงานอื่นๆสำหรับธุรกิจเช่าซื้อและลิสซิ่งได้อีก เข่น

  1. (Customer Onboarding and Account Setup) การเปิดบัญชีลูกค้ารายใหม่ทั้งแบบบุคคลและแบบองค์กรสามารถเกิดได้หลากหลายช่องทางที่ลูกค้าสามารถส่งใบสมัครพร้อมแนบหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาที่บริษัท เพื่อการนำข้อมูลเข้าระบบและส่งต่อไปยังส่วนงานอื่นๆ กระบวนการทำงานเหล่านี้สามารถแปลงเป็นระบบดิจิตัลได้ และมีรูปแบบที่สามารถจัดการได้รวดเร็วผ่านกระบวนการของ RPA  
  2. การปิดสัญญาเช่าซื้อ (Client & Account Closure) ซึ่งต้องมีการตรวจสอบสถานะของสัญญา ยอดคงเหลือ เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง พิมพ์ และจัดส่งให้ลูกค้า ซึ่งบอตสามารถทำธุรกรรมเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็วตามที่โปรแกรมไว้
  3. (New Businesses Initiative) การใช้ RPA สำหรับองค์กรประเภท Financial Service ถือเป็นรากฐานของการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและคืนชั่วโมงการทำงานของพนักงานกลับสู่องค์กร เปิดโอกาสให้เกิดบริการใหม่ๆขึ้นอย่าง การขอสินเชื่อและทราบผลการอนุมัติที่รวดเร็วผ่านธุรกรรมออนไลน์ การเพิ่มบริการบำรุงรักษาเพื่อลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุแก่ลูกค้าลิสซิ่งยานยนต์ระยะยาว รวมถึงการให้บริการรูปแบบใหม่ที่มีใช้แล้วในต่างประเทศอย่าง car sharing หรือ vehicle as-a-service สำหรับลูกค้าที่ไม่อยากได้ความเป็นเจ้าของ (แต่ก็ยังมีธุรกรรมที่วิ่งผ่านและต้องจัดการเป็นจำนวนมาก)

แม้แต่ในสถานะการณ์ปัจจุบันที่ประเทศยังคงประสบปัญหาการะบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ธุรกิจเช่าซื้อสำหรับรถใหม่อาจชะลอตัวลงแต่ธุรกิจสินเชื่อที่ใช้ยานยนต์เป็นหลักประกันยังเป็นที่ต้องการและมีปริมาณธุรกรรมที่ต้องจัดการเป็นจำนวนมากอยู่ และการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ประกาศแนวทางการช่วยเหลือลูกหนี้เมื่อเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา ด้วยการให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (non-bank) พักหนี้ให้ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างน้อย 2 เดือน ก็ทำให้บริษัทผู้ประกอบการต้องมีหน้าที่ปรับปรุงระบบข้อมูลของลูกหนี้ให้สอดคล้องกับนโยบายนี้เพิ่มขึ้นมาด้วย

ธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่งยานยนต์จึงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีความน่าสนใจและสามารถคาดหวังประโยชน์จากการนำระบบซอฟท์แวร์ RPAเข้ามาใช้ในองค์กร