InsureTech – RPA ประโยชน์ที่มีต่อธุรกิจประกันสุขภาพ

แนวทางการนำเอา Robotic Process Automation หรือโปรแกรมหุ่นยนต์ไปใช้งานให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจรับประกันสุขภาพ หรือ Health Insurance โดยยกตัวอย่างเรืองการทำ Cliam process ด้วย RPA

ประกันสุขภาพจัดเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรา

ถ้าเรามองเห็นแนวโน้มของค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาอย่างนี้ เราก็ต้องให้ความสนใจหรือตัดสินใจทำประกันสุขภาพอยู่แล้ว ส่วนจะเป็นประกันที่คลอบคลุมแค่ไหน เน้นโรคใดเป็นพิเศษ ก็ขึ้นอยู่กับกำลังของเราว่าสามารถจ่ายค่าเบี้ยได้ในระดับใด ถึงแม้บางคนที่มีประกันสุขภาพขององค์กรอยู่แล้วก็อาจทำเพิ่มในส่วนของตนเองอีกเพื่อความอุ่นใจ ธุรกิจประกันสุขภาพจึงดูเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ให้ความหมายของการประกันภัยสุขภาพ คือ การประกันภัยที่บริษัทประกันภัยตกลงที่จะชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จากการรักษาพยาบาลให้แก่ผู้เอาประกันภัย ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาลนั้นจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยจากโรคภัย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โดยการจ่ายค่าสินไหมทดแทนสำหรับการประกันสุขภาพ ยึดหลักเกณฑ์เดียวกับการประกันภัยประเภทอื่นๆ คือ เป็นการจ่ายตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่สูงสุดไม่เกินจำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้

ข้อมูลจากคปภ.อีกเช่นกันเปิดเผยว่าเบี้ยประกันสุขภาพทั้งระบบมีมูลค่า 56,103 ล้านบาท ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 โดยเป็นการเพิ่มขึ้น 6.93% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ธุรกิจประกันสุขภาพในไทยมีการเติบโตอย่างสม่ำเสมอมาตั้งแต่ก่อนยุคโควิด แต่ก็มีความผันผวนบ้างตามสภาพเศรษฐกิจซึ่งส่งผลกระทบความความสามารถในการชำระเบี้ยของประชาชน บริษัทประกันทั้งที่เป็นประกันชีวิตและประกันภัยต่างมีประกันสุขภาพมานำเสนอต่อบุคคลหรือองค์กร เราจึงได้เห็นผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพในรูปแบบต่างๆทั้งประกันเฉพาะโรค หรือแบบเหมาจ่าย

ในแง่ของธุรกิจ กลุ่มประกันสุขภาพจัดเป็นกลุ่มที่มีกำไรดีจากหลายสาเหตุ ทั้งจากการตื่นตัวของผู้บริโภคหลังเกิดโรคระบาด การบริหารจัดการค่าใช้จ่าย อัตราการเติบโตของผู้สูงอายุ และผลตอบแทนจากการนำรายรับไปลงทุนตามที่กฎหมายอนุญาต

การใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาช่วยก็ยิ่งเป็นการเสริมความแข็งแรงให้กับธุรกิจนี้ บริษัทประกันสามารถเพิ่มช่องทางการจำหน่ายออนไลน์แบบใหม่ทำให้มีต้นทุนลดลง และการมีระบบอัตโนมัติที่พัฒนาด้วย RPA ก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเคลม การออกกรมธรรพ์ และกระบวนการอื่นๆ รวมทั้งการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เราต้องไม่ลืมว่าประกันสขภาพมีการคิดเบี้ยประกันในอัตราที่สูง ลูกค้าก็ย่อมคาดหวังคุณภาพบริการที่สูงเช่นกันโดยเฉพาะความสะดวกรวดเร็วในการเคลมและการจ่ายเงิน

ก่อนหน้านี้ทางเราเคยมีบทความเกี่ยวกับ Process Heatmap ของธุรกิจประกันซึ่งให้ภาพว่าขั้นตอนการทำงานไหนบ้างที่เหมาะสมสำหรับการทำเป็นระบบงาน RPA และขั้นตอนไหนที่ดูไม่เหมาะหรือไม่ค่อยคุ้มที่จะทำ ตารางด้านล่างจะเป็นอีก Process Heatmap หนึ่งที่พูดถึงกระบวนการทำงานที่เป็นของ Healthcare Payer อย่างบริษัทประกันสุขภาพ

RPA process heat-map for insurance (healthcare)

ส่วนธุรกิจประกันชีวิตหรือประกันภัยที่มีผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพก็สามารถใช้ทั้งสอง Process Heatmap ควบคู่กันไปได้ในการพิจารณา Process ที่เราเลือกปรับให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย RPA

อย่างไรก็ การประกันสุขภาพจะต่างจากประกันภัยชนิดอื่นตรงที่มีกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลหรือคลินิค ซึ่งเป็น Healthcare Provider ด้วย

เมื่อเราเจ็บป่วยและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เราจะมีสถานะเป็นผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยในแล้วแต่กรณี ถ้าเรามีประกันสุขภาพ เราก็ทำการเคลมไปที่บริษัทประกันของเราซึ่งอาจเป็นหรือไม่เป็นคู่สัญญากับโรงพยาบาลที่เราเข้ารักษา เพื่อขอให้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามเงื่อนไขของประกัน นอกจากนี้ เป็นไปได้ที่เราจะทำประกันไว้กับหลายบริษัทและมากกว่าหนึ่งกรมธรรพ์ ซึ่งเราต้องเลือกว่าจะเคลมกรมธรรพ์ไหนก่อน ดังนั้นโรงพยาบาลและบริษัทประกันก็มีงานของตนที่ต้องรองรับการเคลมและการจ่ายเงินให้เรา

เรามาดูตัวอย่างจากบริษัทประกันสุขภาพขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกาแห่งหนึ่งที่นำระบบ RPA เข้ามาช่วยในขั้นตอน Claim Verification (ส่วนหนึ่งของ Claim Processing) เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เอาประกันและเงื่อนไขการจ่ายชดเชยของกรมธรรพ์แต่ละการเคลม ซึ่งเป็นงานที่มีปริมาณมากแต่ขณะเดียวกันก็ต้องการความถูกต้องและความรวดเร็วด้วยเช่นกัน

การใช้โรบอททำงานส่วนนี้ ส่งผลให้บริษัทประกันสุขภาพแห่งนี้จัดการเคลมได้เร็วขึ้นในอัตรา 300 เคลมต่อชั่วโมง โดยมีความถูกต้องสูงกว่า 85% ในขณะที่สามารถคงระดับความปลอดภัยของข้อมูลได้ 100% โดยปกติแล้วโรบอทจะทำงานที่ต้องมีการส่งผ่านข้อมูลหรือเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างระบบงานได้ดี ลดความเสี่ยงของกรณีที่ลูกค้าถูกปฎิเสธหรือได้รับเงินชดเชยช้าหรือโรงพยาบาลได้รับเงินชดเชยช้าจากบริษัทประกันโดยไม่จำเป็น ขั้นตอนของ Claim Verification แสดงไว้ในแผนภาพด้านล่าง

อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญและไม่อยากข้ามไป คือการที่เราต้องมีวิธีจัดการกับเอกสารต่างๆอย่างมีคุณภาพ เช่นการแยกประเภทเอกสารต่างชนิดออกจากกัน การสแกนและเก็บไฟล์เอกสารให้ถูกแฟ้ม การอ่านข้อมูลจากเอกสารที่สแกนเพื่อนำเข้าระบบ เป็นต้น ประกันสุขภาพจัดเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีเรื่องต้องข้องเกี่ยวกับเอกสารเยอะ ดังตัวอย่าง

กระบวนการทำงานตัวอย่างเอกสารหลักฐานที่ต้องใช้
การสมัครประกันสุขภาพใบสมัครรับประกันสุขภาพ, สำเนาบัตรประชาชนผู้เอาประกัน
การเคลมสำเนาบัตรประชาชนผู้เอาประกัน, ใบรับรองแพทย์, ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล, สำเนาหน้าบัญชีสมุดเงินฝากธนาคาร
การต่ออายุกรมธรรพ์คำร้องขอต่ออายุกรมธรรม์, ใบตรวจสุขภาพกรณีต้องตรวจสุขภาพ, สำเนาบัตรประชาชนผู้เอาประกัน

การเก็บเอกสารที่แนบมากับการสมัครทางช่องทางออนไลน์หรือการสแกนเอกสารที่ส่งมาทางไปรษณีย์ สามารถทำได้โดยเก็บไว้ใน Folder ที่เราใช้ทำงานหรืออาจเก็บในส่วน Document Management ที่มักมีอยู่แล้วในระบบแอพพลิเคชั่นประกันหรือระบบบัญชี ซึ่งถ้าเราต้องการให้โรบอททำงานในส่วนนี้ก็สามารถทำได้

สำหรับการอ่านข้อมูลจากเอกสารที่สแกนเพื่อนำเข้าระบบหรือนำไปใช้งานอย่างอื่นต่อ ทาง Automat เราเคยมีบทความเกี่ยวกับโซลูชั่นที่ใช้ทำงานในส่วนนี้ https://imcinstitute.com/content/robot-document/ ; https://automatconsult.com/สอนโรบอทให้เข้าใจเอกสา/  เลยขออนุญาตไม่กล่าวถึงในรายละเอียด แต่จะสรุปเนื้อหาไว้ว่า เราสามาถใช้โซลูชั่น Intelligence Document Processing (IDP) เช่น UiPath Document Understanding ในการอ่านข้อมูลจากเอกสารที่สแกนเป็นไฟล์ภาพหรือ PDF โดยมีข้อดีที่เห็นชัดเจนคือโซลูชั่นนี้สามารถ

  1. เข้าใจรูปแบบของเอกสารได้เอง โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาสร้าง template เพื่อระบุตำแหน่งที่เราต้องการอ่านข้อมูลจากเอกสาร อย่างในกรณีของใบเสร็จ ใบรับรองแพทย์ ที่มีความแตกต่างกันระหว่างเอกสารที่ออกโดยสถานพยาบาลที่ต่างกัน ถ้าเราต้องสร้าง template ให้รองรับทุกรูปแบบของเอกสารก็เป็นเรื่องที่ใช้เวลามาก
  2. รองรับการอ่านเอกสารภาษาไทยได้อย่างมีคุณภาพเนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่ทำงานได้กับ OCR Engine หลายชนิด รวมทั้ง OCR ที่พิสูจน์แล้วว่าอ่านภาษาไทยได้ดีอย่าง Google Cloud Vision OCR และ Abbyy OCR ทั้งนี้เราสามารถทดสอบ Engine เหล่านี้ได้ก่อนการใช้งานจริง

ทาง Automat หวังว่าบทความนี้จะมีส่วนช่วยให้ผู้อ่านที่อยู่ในธุรกิจประกันและประกันสุขภาพ มีความเข้าใจในประโยชน์จากการเพิ่มประสิทธิภาพงานของเราด้วยเครื่องมือ RPA ซึ่งจะช่วยให้เราส่งมอบบริการที่มีคุณภาพแก่ลูกค้าในสภาวะการแข่งขันสูงอย่างในปัจจุบัน

Credit: 

  1. JOLT Advantage Group, UiPath Global Certified Professional Services Partner
  2. UiPath Inc.
  3. สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

Case Studies – Future Generali Insurance รางวัลสู่ความสำเร็จในการ ยกระดับการให้บริการประกันภัยด้วย UiPath RPA Platform

บอกเล่าการ implement ระบบ RPA ขององค์กรระดับโลก ศึกษาอย่างถ่องแท้ ลองทำจริง ปรับปรุงและวัดผลให้เกิดความคุ้มค่า ต่อยอดและมุ่งทำอย่างต่อเนื่อง… ผลลัพธ์คือความสำเร็จในการทำ Digital Transformation ขององค์กรแห่งนี้ด้วย UiPath RPA Platform

วันนี้มาดูองค์กรประกันภัยระดับโลกแห่งนึง ว่าเค้าเริ่ม ปฎิบัติและสุดท้ายสามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากการทำ Digital Transformation ในโครงการริเริ่มด้วย RPA ได้อย่างไรปัจจุบันเป็นอย่างไรและในอนาคตเค้ามองการต่อยอดอย่างไรกันนะครับ

เป็นการร่วมทุนกันของสองบริษัทที่มีชื่อเสียงจากสองอุสาหกรรมในประเทศอินเดีย Future Generali India Life Insurance Company Limited (FGILI) โดย Future จากธุรกิจ Retail และ Generali จากธุรกิจประกันภัย โดยกลธุรกิจประกันมีระบบที่ทำงานร่วมกันหลากหลายระบบทั้ง core insurance (ระบบหลักหลังบ้าน) ระบบ AS400 สำหรับการคำนวณการออกกรมธรรม์ ระบบการคำนวณค่าเบี้ยและอืน ๆ ตามขั้นตอนการดำเนินธรุกิจ และแน่นอนเมื่อมีการแบ่งแยกทีมงาน แบ่งแยกระบบออกจากกันเป็นส่วนๆ ก่อให้เกิดการทำงานแบบ manual เยอะมาก และแน่นอน RPA ถูกนำมาติดตั้งและใช้งานทดแทนตรงนี้ได้ดีที่สุด พวกเค้ามองว่าบริษัทใหม่แห่งนี้จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่มาช่วยลดขั้นตอน กระบวนการทำงานหากต้องการจะสร้างธุรกิจต่อยอดออกไปได้ RPA ถูกกำหนดให้เป็นมือวางอันดับหนึ่งในเครื่องมือลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานเลย

มองย้อนไปในปี 2017 ทีมงานเริ่มศึกษา automation tool ด้วยโปรแกรม Python มาก่อนจะขยับมาใช้ platform ที่ครบเครื่องอย่าง UiPath RPA  และริเริ่มด้วยการใช้ RPA ในการช่วยออกกรมธรรม์ที่มีความซับซ้อนก่อนจะแตกขยายไปเพิ่มจำนวน flow ที่มากขึ้น (ปัจจุบันมีมากกว่า 30 กระบวนการทำงาน) มีหลายๆ กระบวนการที่ลดเวลางานอย่างการออกกรมธรรม์จาก 1 วันที่ต้องรอเป็น 15นาที หรือแม้แต่กระบวนการทำ bank reconcile ที่ประหยัดเวลาไปถึง 83% กันเลย ใน

ขั้นตอนที่ทำก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร หน่วยงานขายนำส่งข้อมูล และเมื่อลูกค้าตัดสินใจซื้อก็นำสู่ระบบ operation คำนวณค่าเบี้ย พิจารณาข้อมูลประกอบ และออกกรมธรรม์ เข้ารหัสไฟล์และส่งเมลติดต่อลูกค้า ทั้งหมดก่อนการมาของ RPA คือ manual ทั้งหมด ซึ่งในกระบวนการออกกรมธรรม์ก็จะมีความซับซ้อนอยู่บ้างใน sub process แต่ RPA ก็สามารถจัดการทำงานร่วมกับมนุษย์ได้ และเมื่อผ่านการ implement ระบบนี้สำเร็จก้าวต่อไปคือเอาไปใช้ก้บหน่วยงานการเงินการบัญชีใน Bank recollimation process โดยก่อนหน้า RPA จะเป็นคนทำงาน เอกสารจากธนาคาร และ Excel เมื่อศึกษากระบวนการทำงานเรียบร้อย RPA จึงเข้าทำงานทดแทนตามขึ้นตอนดังนี้

1.เข้าเว็บ อัพโหลดข้อมูลจากธนาคาร (หลากหลายธนาคาร)

2.ประมวลผลโดยดึงข้อมูล จับมา matching กัน ในขั้นตอนนี้สามารถทำ matching สมบูรณ์ไป 93% ที่เหลืออาจเป็นการแบ่งจ่ายเป็นงวดซึ่ง robot สามารถบันทึกแยกออกไป และแจ้งพนักงานต่อได้

3.ช่วย post ข้อมูลที่จับคู่สำเร็จเข้าระบบ core systems

4.robot ช่วยจัดเตรียมรายงาน statement และการทำ adjustment ก่อนเข้าสู่กระบวนการ GL

การต่อยอดโดยมองไปที่กระบวนการด้านบัญชี จะมีแนวคิดลดงาน day-to-day และการปรับปรุงให้ถูกต้องและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เน้นคำนวณโดยลด FTE ให้ได้มากที่สุด สำหรับ roadmap การนำไปใช้ต่อนั้นผู้ iimplement มองว่าระบบข้อมูลขาเข้านั้นยังเป็น “ข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง” เป็นจำนวนมากอยากนำเอา และกระบวนการทำธุรกิจจริงๆเริ่มซับซ้อนมากขึ้น จึงจะศึกษาและพัฒนาต่อยอดเพื่อนำ RPA+AI ไปใช้ สรุปคือ กิจกรรมความสำเร็จGทั้งหมดเริ่มจากการทดสอบ ใช้งานจริงในกระบวนที่จำเป็น พัฒนาอย่างต่อเนื่อง วางยุทธศาสตร์ด้านนี้ทั้งระยะสั้น และระยะยาว

ผู้เขียนมองว่าแนวทาง และขั้นตอนปฎิบัติเองก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกับองค์กรอื่นๆ แต่ที่ประสบความสำเร็จในการใช้งานคือความมุ่งมั่น ทำจริงอย่างต่อเนื่อง และในธุรกิจประกันเองมี RPA potential มากมาย หลายๆ องค์กรมองโอกาสในโลกการประกันภัยมาก แต่ระบบก็ไม่ได้ถูกยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงจาก legacy system อย่าง AS400 ยังเห็นได้จากบริษัทประกันในบ้านเรา และยิ่งอนาคตเกิดการแข่งขันด้าน InsureTech มากขึ้นเท่าไหร่ RPA ก็น่าจะถูกนำมาใช้งานมากยิ่งขึ้นไปอีกทั้งงานก่อนการขาย (digital marketing, channel, ai chatbot) งานกระบวนการ (policy operation) และงานด้าน data analytic ซึ่งอีกหน่อยเทคพวกนี้จะหลอมรวมกันทั้ง RPA, Chatbot, modern CRM, low-code, ML&AI, data analytic เป็นส่วนหนึ่งของ InsurTech ต่อไป

source:

https://www.uipath.com/resources/automation-case-studies/future-generali-india-life-insurance-rpa

เชื่อมคนกับโรบอทให้ทำงานประสานกันด้วย UiPath Action Center

เพิ่มความคุ้มค่าของการลงทุนใน RPA ด้วย เครื่องมือ UiPath Action Center โดยทีมงาน automat consulting

ข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งของระบบ Robotic Process Automation หรือ RPA เมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีประเภทอื่นสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานในองค์กรก็คือ RPA สามารถเริ่มได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า องค์กรสามารถนำเครื่องมือ RPA มาใช้ร่วมกับระบบหรือแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่ได้โดยไม่ต้องรื้อของเดิมทิ้งอย่างขนานใหญ่ และก็เป็นการนำมาใช้แบบค่อยเป็นค่อยไปตามปริมาณงานที่ตั้งใจจะพัฒนาให้เป็นระบบอัตโนมัติ

แต่อีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อความคุ้มค่าของการลงทุนใน RPA ด้วยเหมือนกันก็คือ เวลาที่โรบอทใช้ทำงานให้เราหรืออีกนัยหนึ่งคือกระบวนการทำงานของเรามีโรบอทเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระการทำงานของพนักงานเราได้แค่ไหน

ความคุ้มค่าของการลงทุนจะเกิดขั้นช้าถ้า

  1. ระบบงาน RPA ต้องหยุดชะงักเนื่องจากเกิดความผิดพลาดในขั้นตอนการทำงานทำให้ต้องรอพนักงานที่เป็นคนเข้ามาสั่งงานหรือตัดสินใจบางอย่างให้โรบอทเพื่อที่โรบอทจะสามารถทำงานต่อ หรือ
  2. ระบบงาน RPA ที่มีการแตกออกเป็นระบบย่อยๆหลายระบบไม่สามารถรับมือกับการแก้ไขข้อมูลผิดพลาดได้อย่างยืดหยุ่นพอ ทำให้เจ้าหน้าที่ที่เป็นคนต้องใช้เวลามากในการค้นหาจุดที่เป็นปัญหาหรืออาจต้องย้อนกลับไปทำใหม่ในขั้นตอนเริ่มต้น

กรณีตัวอย่างทั้งสองนี้จะยิ่งเด่นชัดถ้าเรามีกระบวนการทำงานซึ่งมีลักษณะยาว คลอบคลุมงานของหลายแผนกหรือมีปริมาณธุรกรรมที่ต้องจัดการเป็นจำนวนมาก การหยุดชะงักเหล่านี้ถ้าเกิดขึ้นบ่อยและใช้เวลานานกว่าโรบอทจะได้รับคำสั่งจากผู้ใช้งานที่เป็นคนเพื่อทำงานต่อ ย่อมส่งผลต่อเวลาทำงานของโรบอทและความคาดหวังขององค์กรที่อยากให้ระบบ RPA เช้ามาแก้ปัญหาประสิทธิภาพและปัญหาสภาวะการทำงานที่เผชิญอยู่

เพื่อให้เห็นภาพ สมมุติบริษัทค้าปลีกน้ำมันแห่งหนึ่งต้องใช้เจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี 10 คนทำรายการกระทบยอดบัญชีของยอดชำระผ่านธนาคารกับยอดหนี้ของลูกค้า (Bank Statement Reconciliation)ได้เฉลี่ย 500 รายการใน 1 วัน บริษัทตัดสินใจนำระบบ RPA เข้ามาช่วยในกระบวนการนี้ด้วยความคาดหวังให้โรบอททำงานนี้ได้ 3,000 รายการใน 1 วันซึ่งเป็นปริมาณธุรกรรมสูงสุดที่บริษัทเคยบันทึกไว้ อย่างไรก็ตาม ในหลายกรณีด้วยกันที่ยอดชำระกับยอดหนี้แตกต่างกันมากจนโรบอทต้องข้ามรายการเหล่านั้น และบันทึกรายการที่ไม่ได้ทำในรายงานสรุป เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต้องใช้เวลานานในการค้นหาและแก้ไขข้อมูล หรือยอมรับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้คือปริมาณรายการที่โรบอททำได้ ต่ำกว่าความคาดหวังที่ 3,000 รายการต่อวันไปค่อนข้างมาก

สถานการณ์ดังกล่าวนี้ ในบางครั้งสามารถแก้ไขได้ด้วยการออกแบบระบบการทำงานเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้เจ้าหน้าที่รับทราบและเข้ามาแก้ไขได้ในเวลาอันสั้น แต่ในระยะยาวแล้ว สมควรที่จะมีฟังชั่นเฉพาะที่เจ้าหน้าที่สามารถทำงานร่วมกับโรบอทได้อย่างราบรื่น ครอบคลุมทุกเงื่อนไขที่โรบอทไม่ต้องหยุดชะงักรอระหว่างการทำรายการหรือมีการแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ได้ทันทีเพื่อแก้ไขข้อมูลในจุดที่เป็นปัญหา

ก่อนหน้านี้ทาง Automat เราออกบทความหนึ่งชื่อ เมื่อคนและหุ่นยนต์ประสาน ทำงานร่วมกัน (Human-Bot Collaboration) ซึ่งกล่าวถึงรูปแบบลักษณะต่างๆของการทำงานร่วมกันระหว่างคนกับโรบอท แต่ในบทความนี้เรามาเจาะดูเฉพาะสถานการณ์ที่โรบอทต้องหยุดเพื่อรับคำสั่งหรือรับ action บางอย่างจากผู้ใช้งาน ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 แบบคือ

  1. การอนุมัติ (Approval Scenario) เป็นสถานการณ์ที่โรบอทถูกโปรแกรมให้หยุดการทำงานเพื่อรอคำสั่งอนุมัติจากผู้ใช้งาน โดยอาจเป็นการอนุมัติลดราคาขายสินค้าของทีมขาย การรับของเข้าคลังสินค้า การยอมรับความต่างของค่าที่ใช้เปรียบเทียบ เป็นต้น ระบบงานลักษณะนี้มักมีการกำหนดค่าการยอมรับ (Threshold) เพื่อที่โรบอทสามารถทำงานด้วยตัวเองได้จนกว่าค่าที่เป็นเงื่อนไขจะมากกว่าหรือน้อยกว่าค่าการยอมรับที่ตั้งไว้ คนจะต้องเข้ามาอนุมัติงานดังกล่าว
  2. การตรวจสอบ (Verification Scenario)  เป็นสถานการณ์ที่การทำงานของโรบอทต้องหยุดรอการตรวจสอบของผู้ใช้งานว่ากระบวนการทำงานดัวกล่าวเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่ เช่นการพิจารณากระบวนการขอสินเชื่อของลูกค้าที่ต้องมีการตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสาร การเปิดใช้งานบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ (Account Activation) ที่ลูกค้าต้องผ่านขั้นตอน KYC ก่อน เป็นต้น 
  3. การยืนยันความถูกต้อง (Validation Scenario) เช่นกรณีการใช้โรบอท extract ข้อมูลจากเอกสารผ่านเครื่องมือ OCR แล้วต้องมีคนเข้ามาช่วยยืนยันความถูกต้องของข้อมูลที่ได้ในกรณีที่โรบอทไม่มั่นใจว่าตัวเองอ่านถูกหรือไม่
UiPath Action Center

นอกจากสถานการณ์ทั้งสามลักษณะนี้แล้ว การแก้ไขธุรกรรมที่เกิดไปแล้วก็เป็นเหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ และถ้ามีการแก้ไขอย่างทันท่วงที ไม่เสียเวลารอการตัดสินจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ย่อมส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานนั้นๆ

ผู้ผลิตซอฟท์แวร์ RPA อย่าง UiPath Inc. ก็มีการพัฒนาฟังชั่นการทำงานของแพลตฟอร์มตนเองขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับเรื่องนี้ เรียกว่า UiPath Action Center โดยกำหนดให้คนส่ง action ที่โรบอทต้องการเพื่อให้โรบอททำงานต่อ เช่น การอนุมัติหรือปฎิเสธ การยืนยันเงื่อนไขที่โรบอทเจอว่าถูกหรือผิด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการ assign ผู้รับผิดชอบลำดับถัดไปเพิ่อไม่ให้เกิดปัญหาขาดคนอนุมัติหรือตัดสินใจ

ตัวอย่างในภาพเป็นการทำงานของโรบอทที่หยุดรอผลการอนุมัติเสนอราคาจากผู้ใช้งานตามเงื่อนไขที่เราได้ออกแบบไว้ Action Center จะรวบรวมงานต่างๆที่หยุดรอผลการอนุมัติหรือการตรวจสอบไว้ในสถานะ Pending เพื่อที่ผู้รับผิดชอบสามารถเข้ามาอนุมัติหรือแก้ไขงานให้ถูกต้อง จากนั้นโรบอทก็จะทำงานของตัวเองต่อไปได้

ด้วยฟังชั่นการทำงานของ Action Center เราสามารถนำกระบวนการทำงานอีกมากมายที่ครั้งหนึ่งอาจพิจารณาแล้วไม่เหมาะสมสำหรับการทำออโตเมชั่น เนื่องจากมีความจำเป็นต้องหยุดรอคำสั่งจากเจ้าหน้าที่ที่เป็นคน กลับมาพิจารณาใหม่ในการพัฒนาเป็นระบบ RPA 

นอกจากนี้ ท่านที่ได้พัฒนางาน RPA สำหรับองค์กรของท่านไปบ้างแล้วในระยะเวลา 2-3 ปีมานี้ สามารถกลับไปพิจารณากระบวนการทำงานเหล่านั้นอีกทีว่ามีขั้นตอนไหนที่ยังคงมีลักษณะที่เป็นรอยต่อของขั้นตอนการทำงานหรือการสื่อสารกันระหว่างผู้ใช้งานที่ทำให้เกิดการรอ action จากผู้ตัดสินใจ แล้วดูว่าการทบทวนการออกแบบของกระบวนการทำงานนี้อีกครั้งหรือการนำเครื่องมืออย่าง Action Center เข้ามาใช้จะสามารถลดเวลาที่เสียไปเหล่านี้ได้หรือไม่และได้แค่ไหน

เพราะการลดเวลาที่โรบอทไม่ได้ทำงานย่อมหมายถึงประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการลงทุนใน RPA ที่เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากยิ่งขึ้นนั่นเอง!

ท้ายบทความมีคลิปประกอบเพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้นของ UiPath Action Center ครับ

Clip:

จัดการ process ง่ายๆ และให้คนเข้ามาช่วยตรวจงานด้วย Action Center – Youtube Channel “automat”

เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของระบบ Legacy ด้วย RPA

ที่ทีมงาน Automat เราได้ทำงานร่วมกับลูกค้าหลายราย ที่ยังมีการใช้ระบบงานที่ได้รับการพัฒนามาแล้วหลายปี เรียกว่าระบบ Legacy อยู่ เช่นระบบงานบัญชีหรือระบบ HR ที่พัฒนาบนฐานข้อมูลชนิดเก่ามากระบบ Core Leasing หรือ Core Insurance ที่ยังทำงานอยู่บนเครื่อง AS400 เป็นต้น องค์กรยังคงใช้งานระบบเหล่านี้อยู่ เนื่องจากความเสถียรของระบบ การประยุกต์ใช้ RPA, Lowcode จะเพิ่มความสามารถอย่างไม่มีขีดจำกัด รวดเร็วและไม่ต้องลงทุนมากนัก

การปรับเปลี่ยนแอพพลิเคชั่นหรือการจัดหาแอพพลิเคชั่นใหม่เข้ามาใช้งานในองค์กร นับเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องมีการตัดสินใจอย่างรอบคอบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแผนกต่างๆในองค์กร การสร้างความสามารถในการแข่งขัน และการปรับตัวเข้ากับสภาพการทำงานและความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วขึ้นเรื่อยๆ

แต่เนื่องจาก “เวลา” และ “งบประมาณ” ยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญของการพิจารณาแนวทางการทำงานของโครงการไอทีอยู่เสมอ เราจึงได้เห็นเทคโนโลยีอย่างการทำ automation เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานบนระบบงานที่มีอยู่แล้วให้รวดเร็วขึ้น มีข้อผิดพลาดน้อยลง หรือเห็นเทคโนโลยีในด้าน application integration ที่ทำให้ระบบงานต่างๆที่มีอยู่สามารถเชื่อมต่อกัน เพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของระบบที่มีอยู่ ก่อนจะถึงเวลาที่ต้องลงทุนจริงๆเพื่อเปลี่ยนเป็นระบบใหม่

จากประสบการณ์ที่ทีมงาน Automat เราได้ทำงานร่วมกับลูกค้าหลายรายที่ยังมีการใช้ระบบงานที่ได้รับการพัฒนามาแล้วหลายปีหรือที่เรียกว่าระบบ Legacy อยู่ เช่นระบบงานบัญชีหรือระบบ HR ที่พัฒนาบนฐานข้อมูลชนิดเก่ามากระบบ Core Leasing หรือ Core Insurance ที่ยังทำงานอยู่บนเครื่อง AS400 เป็นต้น องค์กรยังคงใช้งานระบบเหล่านี้อยู่เนื่องจากความเสถียรของระบบเองที่ได้รับการพิสูจน์แล้วอย่างยาวนาน และการที่ต้องลงทุนสูงทั้งในแง่ตัวระบบเองและการเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานถ้าคิดจะนำระบบใหม่เข้ามาใช้งานแทน แต่ปัญหาหรือความท้าทายของการใช้แอพพลิเคชั่นอายุยืนที่องค์กรเหล่านี้ต้องเจอก็คือ

  1. ขาดการเชื่อมต่อกับระบบอื่น – ในกรณีที่ผู้ใช้งานมีความต้องการเพิ่มขึ้นจากสภาพการทำงานในปัจจุบัน เช่นอยากเพิ่มการติดต่อกับลูกค้าผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย หรือต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับแอพพลิเคชั่นที่อยู่บนระบบคลาวด์ จะทำได้ลำบากเนื่องจากเป็นระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อนานมาแล้ว โปรแกรม API ต่างๆยังไม่มีให้ใช้หรือขาดบุคคลากรที่พัฒนาได้
  2. ไม่สามารถรองรับรูปแบบการเข้าใช้งานที่เปลี่ยนไป – ระบบแอพพลิเคชั่นสมัยใหม่รองรับการทำงานนอกสถานที่หรือการทำงานจากที่บ้าน อีกทั้งยังสามารถใช้งานผ่าน device ได้หลายแบบ สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้คน แต่ระบบ Legacy ไม่สามารถทำได้แบบนี้ 
  3. ไม่สามารถเพิ่มเติมฟังชั่นการทำงานได้ – ระบบ Legacy ที่เก่ามากๆจะไม่มีการอัพเกรดเวอร์ชั่นใหม่ๆแล้ว ทางเดียวที่จะเพิ่มฟังชั่นการทำงานได้ก็คือการเปลี่ยนไปใช้ซอฟท์แวร์ตัวใหม่เลยหรือถ้าไม่เก่ามาก ยังพอหาทีมงานที่สามารถพัฒนาต่อยอดได้ ทางผู้บริหารก็จะเกิดความลังเลว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าหรือไม่ กลัวว่าเสียเงินลงทุนพัฒนาไปแล้วจะใช้ไปอีกไม่นาน ทำให้ผู้ใช้งานต้องอยู่กับระบบเดิมต่อไป

อย่างไรก็ตาม จากเคสที่เราพบ เครื่องมีอที่ใช้พัฒนาระบบงานอัตโนมัติอย่าง RPA (Robotic Process Automation) สามารถใช้กับระบบงาน Legacy ได้ค่อนข้างดี เนื่องจากความแม่นยำของการจับปุ่ม ตาราง และข้อความต่างๆผ่านหน้าจอแอพพลิเคชั่นตามแบบที่มนุษย์ทำงาน และเมื่อศึกษาเปรียบเทียบเทคโนโลยีหรือแนวทางต่างๆในการเชื่อมต่อระบบแอพพลิเคชั่น การใช้ RPA ก็นับเป็นทางเลือกที่น่าสนใจดังข้อมูลในตารางด้านล่าง

จากตารางดังกล่าว ถึงแม้การใช้ RPA จะมีความเหมาะสมหรือคะแนนในเรื่องการขยายระบบ (Scalability) ด้อยกว่าการทำ Integrated application หรือการใช้ API แต่ RPA ก็เป็นโซลุชั่นที่เหมาะสมมากกว่า ถ้ามองจากเรื่อง เวลาที่ทำได้เร็วกว่า ต้นทุนที่ต่ำกว่า และความหลากหลายของฟังชั่นการใช้งาน (Versatility) ที่มากกว่า

นอกจากนี้แล้ว ผู้ผลิตซอฟท์แวร์ RPA บางเจ้ายังมีการเพิ่มส่วนที่เรียกว่า Low-Code Application เข้ามาใน RPA Platform ของตนเอง ทำให้การสร้างฟอร์มหรือ Dashboard สำหรับนำข้อมูลเข้าหรือออกจากระบบแอพพลิเคชั่นทำได้อย่างรวดเร็ว เป็นการนำประโยชน์ของการสร้าง app ที่รวดเร็วของซอฟ์ทแวร์ Low-Code มาใช้งานร่วมกับ RPA ที่มีจุดเด่นของการทำงานกับแอพพลิเคชั่นที่การเชื่อมต่อผ่านการเขียนโปรแกรมหรือ API เป็นไปได้ยาก

ถ้าเราเป็นฝ่ายเทคโนโลยีขององค์กรที่มีหน้าที่แสวงหาระบบหรือเครื่องมือ เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ใช้งานในแผนกต่างๆขององค์กรสามารถทำงานได้สะดวก มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น การเพิ่มช่องทางให้ผู้ใช้งานให้ทำงานกับระบบหลังบ้าน ไม่ว่าจะเป็นระบบที่ทันสมัยอยู่แล้วหรือระบบ Legacy ที่กล่าวถึงในบทความนี้ ย่อมก็ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรในภาพรวม

ตัวอย่างในคลิป YouTube ตอนท้ายของบทความนี้ เป็นการจำลองรูปแบบการทำงานที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องทำงานผ่านหน้าจอของระบบ Legacy แต่เป็นสั่งงานผ่านเว็บที่พัฒนาขึ้นด้วยเครื่องมือ Low-Code ไปที่โรบอท และให้โรบอทป้อนข้อมูลเข้าหรือแสดงผลที่ได้จากระบบ Legacy กลับมาที่ผู้ใช้งานที่ทำงานผ่านหน้าเว็บหรือผ่าน Smart Phone นับเป็นการเพิ่มช่องทางให้ผู้ใช้งานทำงานของตนเองบนระบบ Legacy ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

UiPath low-code app to solve Legacy  systems process flow

ยังคงมีการประยุกต์แนวคิดในลักษณะการใช้ low code ในรูปแบบอื่น ๆเพื่อรองรับการทำ business workflow หรือการใช้ RPA ในการทำกระบวนการที่มีความซับซ้อนและขั้นตอนยาวๆ มากๆ มีคนเกี่ยวข้องด้วยหลายแผนกหรือหลายๆคน ผู้เขียนจะขอนำมาเสนอในบทความต่อไปครับ

Process Heatmap เครื่องมือคัดสรร RPA process – ธุรกิจประกัน

สวัสดีครับ

คำถามหนึ่งที่มักเกิดขึ้นเสมอจากลูกค้าองค์ที่ให้ทีม automat เป็นที่ปรึกษาสำหรับโครงการ RPA คือเราควรใช้ robots กับกระบวนการทำงานไหนบ้าง ?

องค์กรของเรานั้นประกอบขึ้นด้วยกระบวนการทำงานหรือ Process จำนวนมาก โดยมีทั้งกระบวนการทำงานทั้งที่เป็นมาตรฐานขององค์กรทางธุรกิจทั่วไป เช่นการบริหารงานบุคคล การตลาด การขาย ระบบบัญชี เป็นต้น และกระบวนการทำงานที่เป็นเรื่องเฉพาะของอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง เช่นกระบวนการเคลมของธุรกิจประกัน กระบวนการ KYC/CDD ของกลุ่มสถาบันการเงิน กระบวนการลงทะเบียนผู้ป่วยของธุรกิจโรงพยาบาล เป็นต้น 

องค์กรมีวิธีการคัดเลือกกระบวนการทำงานเพื่อพัฒนาเป็นระบบอัตโนมัติได้ทั้งแบบ top down หรือการวางแผนและเป้าหมายระดับองค์กร ผู้บริหารระดับองค์กรรับทราบและให้การสนับสนุนทรัพยากร มีการจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาระบบ RPA ตามเป้าหมายว่าเรื่องไหนควรหยิบมาทำก่อน กับอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า bottom up โดยมีผู้บริหารระดับหน่วยงาน หรือเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงานเป็นผู้กำหนดความต้องการและขอการสนับสนุนไปยังหน่วยงานไอทีและผู้บริหารระดับองค์กรเพื่อทำโครงการ

ทั้งนี้เครื่องมือหนึ่งที่ผู้บริหารระดับองค์กรและระดับหน่วยงาน รวมถึงเจ้าหน้าที่และคณะทำงานโครงการ RPA สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการเลือก Process ที่เหมาะสมก็คือ Process Heatmap 

Process Heatmap เป็นผังของกลุ่มงานที่แสดงถึงระดับความเหมาะสมและโอกาสประสบความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการทำงานให้เป็นระบบ RPA โดยแสดงเป็นความแตกต่างของเฉดสีของแต่ละระดับว่ากลุ่มงานไหนเป็น high potential, medium potential หรือ low potential 

ในบทความนี้ผู้เขียนขอกล่าวถึง Process Heatmap ที่จัดทำขึ้นสำหรับธุรกิจประกันให้ท่านผู้อ่านรับทราบเป็นตัวอย่างก่อนครับ(Process Heatmap มีทั้งแบบที่แสดงเป็นรายธุรกิจและเป็นรายฟังชั่นงานในองค์กร)

กระบวนการทำงานที่เห็นเป็นสีนำเงินเข้มแสดงกลุ่มงานที่เป็น High Automation Potential กล่าวคือเป็นกระบวนการทำงานที่มีศักยภาพ มีความเหมาะสมกับการพัฒนาให้เป็นระบบงานอัตโนมัติด้วย RPA เนื่องจากมีกฎเกณฑ์การทำงานที่ชัดเจนสามารถสร้างเป็นคำสั่งให้โรบอททำงาน มีปริมาณธุรกรรมสูงใช้เวลามากในการจัดการซึ่งก็หมายถึงประโยชน์สูงที่จะได้รับถ้ากระบวนการทำงานถูกทำด้วยโรบอท มีรูปแบบและขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำสำหรับแต่ละธุรกรรม

ตัวอย่างของกระบวนการทำงานที่อยุ่ในกลุ่มนี้ เช่น

Renewal Notices: เป็นการแจ้งเตือนต่ออายุกรมธรรพ์สำหรับผู้ถือกรมธรรพ์เดิม ด้วยความที่ข้อมูลทั้งหมดอยู่ในระบบ Core Insurance Systems อยู่แล้วทั้งข้อมูลลูกค้า ความคุ้มครอง ประวัติการเคลม ทำให้การออกใบเตือนต่ออายุและส่งให้ลูกค้าตามช่องทางต่างๆเป็นงานที่โรบอททำได้ทั้งหมด

Collection Management: เป็นกระบวนการจัดการการวางบิลและติดตามการชำระเงิน โดยโรบอทจะรวบรวมข้อมูลของกรมธรรพ์ที่ถึงกำหนดด้องชำระหรือค้างชำระ การจัดการเงื่อนไขการวางบิลต่างๆซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเป็นการแจ้งการชำระเงินผ่านตัวแทน ผ่านบริษัทนายหน้า หรือแจ้งไปที่ผู้ถือกรมธรรพ์ ซึ่งจะมีเงื่อนไขและรูปแบบการวางบิลที่ต่างกัน เช่นเรื่องการคำนวนภาษี ค่าคอมมิชชั่น ตลอดจนถึงช่องทางการรับเอกสาร

Policy Changes: การเปลี่ยนแปลงข้อมูลในกรมธรรพ์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เมื่อเวลาผ่านไป เช่นการเปลี่ยนนามสกุลภายหลังการแต่งงาน การเปลี่ยนที่อยู่ การเปลี่ยนชื่อผู้รับผลประโยชน์จากบิดามารดาเป็นชื่อสามี ภรรยาหรือบุตร เป็นต้น ซึ่งการยื่นคำร้องของแก้ไขข้อมูลเหล่านี้จะต้องมีเอกสารหลักฐานยื่นเข้ามาพร้อมกัน ซึ่งโรบอทสามารถเข้ามาช่วยทดแทนการทำงานของเจ้าหน้าที่ได้ตั้งแต่การตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสาร การบันทึกข้อมูลที่ขอเปลี่ยนแปลงจากแบบฟอร์มคำขอลงในแอพลิเคชั่นงานประกัน การทำเรื่องขออนุมัติตามเงื่อนไขที่มี การเปลี่ยนแปลงข้อมูลจนถึงการแจ้งผลของคำขอเปลี่ยนข้อมูลและการส่งเอกสารกลับไปที่ผู้ถือกรมธรรพ์

KYCการใช้โรบอทเพื่อทำความรู้จักและพิสูจน์ตัวตนลูกค้าว่าเป็นบุคคลรายนั้นจริง เพื่อป้องกันการทุจริตจากการปลอมแปลงหรือใช้ข้อมูลบุคคลอื่นในการทำธุรกรรมตามข้อกำหนดของสำนักงานคปภ ทั้งนี้โรบอทจะเริ่มทำงานตั้งแต่ขั้นตอนการรับข้อมูลคำขอเปิดบัญชีของลูกค้า การตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารยืนยันตนเอง การกำหนด Risk Profile จนถึงการสร้างบัญชีลูกค้าตามคำขอเมื่อผ่านเกณฑ์การคัดกรองดังกล่าวแล้ว

Claimsกระบวนการเคลมประกันเป็นอีกหนึ่งกระบวนการของธุรกิจประกันที่มีการนำ RPA เข้ามาใช้ได้หลายส่วน ทั้งนี้โรบอทเริ่มทำงานตั้งแต่ขั้นตอนการรับแจ้งความเสียหายครั้งแรก (First Notice of Loss หรือ FNOL) โดยการอ่านข้อมูลจากอีเมล แบบฟอร์มออนไลน์ หรือเอกสารที่ถูกสแกน จากนั้นก็เป็นการตรวจสอบสถานะของกรมธรรพ์ ความครบถ้วนของเอกสารหลักฐาน การบันทึกข้อมูลเข้าระบบเคลมจนได้หมายเลขเคลม การแจ้งสถานะและค่าสินไหม ฯลฯ

ส่วนกลุ่มที่มีสีน้ำเงินจางลงมาขั้นหนึ่งเราจัดเป็นกลุ่ม Medium Automation Potential ซึ่งมีความน่าสนใจน้อยลงกว่ากลุ่มสีน้ำเงินเข้ม เนื่องจากบางขั้นตอนของกระบวนการยังต้องใช้คนเข้ามาทำงานอยู่ หรือมีกฎเกณฑ์การทำงานที่ค่อนข้างซับซ้อนต่อการสั่งงานโรบอท ยกตัวอย่างเช่นงาน Renewal Processing หรือกระบวนการต่ออายุกรมธรรพ์หลังจากที่มีการแจ้งเตือนต่ออายุไปและอาจมีทั้งผู้ที่ต่ออายุและผู้ที่ไม่ต่ออายุ ซึ่งถ้าเป็นการทำงานร่วมกับตัวแทน (agent) หรือนายหน้า (broker) ก็จะมีการสั่งงานการต่ออายุเข้ามาว่ากรมธรรพ์ไหนที่ต้องต่ออายุและกรมธรรพ์ไหนมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปจากเดิม เจ้าหน้าที่จะต้องเข้ามาจัดเตรียมข้อมูล (data preparation) เพื่อให้โรบอทใช้ทำงานต่ออายุประกันภัย รวมทั้งอาจต้องเข้ามา verify ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงว่าเป็นการเปลี่ยนจริงๆหรืออาจมีข้อผิดพลาดของการแจ้งข้อมูล

กลุ่มสุดท้ายหรือกลุ่มที่มีสีจางที่สุดคือกลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยงหรือไม่ควรถูกนำมาพิจารณาในช่วงต้นของโครงการ

เราสามารถใช้ Process Heatmap เป็นแนวทางในการเลือกกระบวนการทำงานที่เหมาะสมสำหรับนำมาพัฒนาด้วย RPA ได้เนื่องจาก Process Heatmap เกิดจากการรวบรวมข้อมูลจำนวนมากของการพัฒนางาน RPA และผลลัพธ์ที่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม สุดท้ายการตัดสินว่ากระบวนการทำงานไหนที่ควรหยิบขึ้นมาพัฒนาด้วย RPA ก็อยู่ที่ตัวเราเองครับ ทั้งนี้เพราะการพิจารณาเลือกกระบวนการทำงานจะต้องคำนึงถึงทั้งความยากของการพัฒนา (Complexity) และประโยชน์ที่จะได้รับ (Benefit) ถ้าเราพิจารณาแล้วเห็นว่าฝั่งของประโยชน์ที่จะได้รับมีน้ำหนักมากกว่า คุ้มค่ากว่า เราก็สามารถเลือกกระบวนการทำงานดังกล่าวเข้าสู่ pipeline ของโครงการได้

ก่อนจากกัน มีอีกหนึ่งประเด็นที่อยากกล่าวถึงคือ ธุรกิจประกันจัดเป็นธุรกิจที่มีเอกสารเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก เอกสารที่มาจากภายนอก เช่น ใบสมัครขอรับประกัน เอกสารแนบ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการพิจารณา แบบฟอร์มต่างๆ เป็นต้น ซึ่งถ้าเรายังหาวิธีที่จะนำข้อมูลจากเอกสารเหล่านี้มาใช้งานได้ กระบวนการ RPA ของเราก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เนื่องจากต้องมีงานส่วนที่เจ้าหน้าที่ของเราต้องใช้เวลากับการนำข้อมูลเหล่านี้เข่าระบบในแบบ manual ในปัจจุบันเครื่องมืออย่าง intelligence Document Processing หรือ IDP ได้ถูกพัฒนาให้มีความสามารถในการอ่านข้อมูลที่ข้ามข้อจำกัดของการใช้เทคโนโลยี Optical Character Recognition หรือ OCR เพียงอย่างเดียว โดยมีการนำ Machine Learning Model เข้ามาช่วยในการอ่านข้อมูลทำให้การใช้งาน RPA ในองค์กรมีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

OCR – Optical Character Recognition

ในบทความตอนต่อๆไป ถ้ามีโอกาสผมจะนำ Process Heatmap สำหรับฟังชั่นงานอื่นหรือกลุ่มธุรกิจอื่นมาเล่าในรายละเอียดครับ

ขอบคุณครับ 

 Credit: JOLT Advantage Group, UiPath Global Certified Professional Services Partner

การประยุกต์ใช้ระบบ RPA กับกระบวนการ Know-Your-Customer (KYC)

สวัสดีครับ

กระบวนการรู้จักลูกค้า (Know-Your-Customer or KYC) เป็นมาตรการที่เราคุ้นเคยกันดี เนื่องจากเรามักจะถูกขอให้ชี้แจงข้อมูลส่วนตัวอยู่เสมอเวลาที่ขอเปิดบัญชีเงินฝาก บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์หรือกระทั่งการขอความคุ้มครองจากการซื้อกรมธรรพ์ประกันภัย กับสถาบันการเงินอย่าง บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทประกันภัย เป็นต้น

KYC จะมาคู่กับคำว่า CDD หรือ Customer Due Diligence ซึ่งเป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า โดยมีกระบวนการประเมินและจัดการความเสี่ยง การติดตามความเคลื่อนไหวทางการเงินก่อนการอนุมัติรับลูกค้า พักหลังเราเลยจะได้ยินคำว่า KYC/CDD มากกว่า KYC เฉยๆ 

บริษัทต่าง ๆ โดยเฉพาะบริษัทในกลุ่มสถาบันการเงินมีการใช้ KYC/CDD เพื่อทำความรู้จักและพิสูจน์ตัวตนลูกค้าว่าเป็นบุคคลรายนั้นจริง เพื่อป้องกันการทุจริตจากการปลอมแปลงหรือใช้ข้อมูลบุคคลอื่นในการทำธุรกรรมทางการเงิน รวมถึงเป็นมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย หรือการกระทำความผิดอื่น ๆ 

ทั้งนี้หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน ปปง. สำนักงาน คปภ. เป็นต้น ต่างออกหลักเกณฑ์และข้อปฎิบัติของหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของตนเองสำหรับการทำ KYC ก่อนการทำธุรกรรมกับลูกค้า รวมทั้งผลที่ตามมาเช่น ค่าปรับ ในกรณีที่บริษัทไม่มีกระบวนการกำกับ ควบคุมและกลั่นกรองการ KYC/CDD ที่เป็นมาตรฐาน 

เรียกได้ว่างาน KYC/CDD นี้มีความสำคัญในลักษณะที่เป็นภาคบังคับที่ต้องทำของบริษัทหรือองค์กรที่ถูกกำหนดให้ต้องทำเรื่องเหล่านี้ และการที่ต้องรักษาขั้นตอนการทำงานให้เป็นมาตรฐานอยู่ตลอดเวลาก็ถือเป็นหน้าที่ และภาระของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบที่ใช้เวลากับเรื่องนี้พอสมควร

การทำ KYC หรือ KYC/CDD นี้ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผ่านระบบออฟไลน์ เช่นการไปทำธุรกรรมที่ธนาคาร เพื่อให้ธนาคารเทียบระหว่างหน้าบัตรกับหน้าจริง ๆ ของเรา หรือว่าทางออนไลน์ที่เรียกว่า E-KYC โดยมักเริ่มต้นด้วยการเก็บข้อมูลพื้นฐานของลูกค้า เช่น ชื่อ เลขประจำตัวประชาชน วันเกิด หรือที่อยู่ บริษัทสามารถให้ลูกค้าของตนเองทำ KYC ได้หลายรูปแบบแล้วแต่ข้อบังคับหรือความจำเป็นทางธุรกิจของแต่ละบริษัท

จากธรรมชาติของงานที่มีเงื่อนไขการทำงานที่ชัดเจน การที่องค์กรต่าง ๆ มีการใช้แอพพลิเคชั่นและช่องทางติดต่อกับลูกค้าแบบออนไลน์ และเป็นข้อมูล digital อยู่แล้วในสัดส่วนที่มาก และมีปริมาณธุรกรรมเป็นจำนวนมาก ทำให้กระบวนการ KYC/CDD มีความเหมาะสมในการนำโรบอทของระบบ Robotic Process Automation (RPA) เข้ามาช่วยทำงาน ส่วนที่ว่าโรบอทต้องทำอะไรบ้างนั้นผมขอใช้ Workflow Diagram ของ UiPath ในการช่วยอธิบายครับ 

จาก Diagram ด้านล่าง เราสามารถนำ RPA เข้ามาทำงานในส่วนนี้ได้ตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือการติดต่อกับลูกค้าจนถึงการเปิดบัญชีให้ลูกค้าได้ซึ่งเป็น output ของกระบวนการ

UiPath RPA flow – KYC

สถาบันการเงินที่เป็นธนาคารหรือองค์กรทางการเงินประเภทอื่น ๆ สามารถประยุกต์การทำงานจากขั้นตอนเหล่านี้ได้เหมือนกันโดยเริ่มจาก

  1. Onboarding request: สถาบันการเงินที่มีช่องทางติดต่อหลายช่องทางกับลูกค้าตนเองหรือลูกค้าเป้าหมายจะได้เปรียบเพราะสามารถเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้ส่งคำขอเปิดบัญชีได้หลายช่องทางทั้ง online ผ่าน website/Chatbot, ตู้ Kiosk หรือที่สาขา เข้ามาที่ส่วนกลางโดยมีโรบอททำหน้าที่รับข้อมูลที่เข้ามา ระบุจุดที่ข้อมูลมาไม่ครบหรือส่วนของข้อมูลที่น่าจะผิด เราสามารถใช้ทั้งโรบอทแบบ attended หรือ unattended เข้ามาจัดการตรงนี้ ขึ้นอยู่กับช่องทางที่คำขอเปิดบัญชีเข้ามา

2&3 Prove of identity/income verification: ขั้นตอนนี้จะเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารยืนยัน ตนเองซึ่งก็มักจะเป็นเอกสารที่ออกให้โดยหน่วยงานราชการอย่าง บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน รวมทั้งเอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้เพื่อแจกแจงที่มาของเงินทุนหรือความสามารถในการลงทุน ในกรณีการเปิดบัญชีด้านการลงทุน ก็ต้องใช้เอกสารอย่าง slip เงินเดือน สมุดปัญชีเงินฝาก ฟอร์ม FATCA เป็นต้น ทั้งนี้การตรวจสอบเอกสารดังกล่าวจะต้องใช้ฟังชั่น Optical Character Recognition (OCR) เข้ามาอ่านข้อมูลให้เป็นข้อมูล digital ก่อนจะนำไป validate เพื่อตรวจสอบความถูกต้องต่อไป

4. Sanction and Politically Exposed Person (PEP) screening: การตรวจสอบสถานภาพบุคคลว่าอยู่ในข่ายที่กำลังถูกแซงชั่น หรือคว่ำบาตรจากการกระทำผิดหรือมีความเสี่ยงเกี่ยวกับสถานภาพทางการเมืองหรือไม่ ในกรณีของประเทศเราสามารถประยุกต์เข้ากับความเสี่ยงของการเกี่ยวข้องกับผู้กระทำผิดหรือติด แบล็คลีสต์ที่เป็นข้อต้องห้ามของการทำธุรกรรม ซึ่งสามารถใช้โรบอทตรวจสอบชื่อหรือข้อมูลส่วนตัวกับฐานข้อมูลผู้กระทำผิดได้

5. Risk rating approval: โรบอทสามารถใช้ข้อมูลทั้งหมดที่ถูกรวมรวมจากขั้นตอนที่ได้กล่าวถึง มาสร้างเป็นโปรไฟล์ของลูกค้านั้น ๆ แล้วส่งต่อเข้ากระบวนการขออนุมัติตามลำดับขั้นของความเสี่ยง (Risk Category) ที่ถูกกำหนดขึ้น

6. Onboarding and account creation: เมื่อคำขอเปิดบัญชีได้รับการอนุมัติแล้ว โรบอทจะสร้างบัญชีของลูกค้าพร้อมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของบัญชีนั้น ๆ ในระบบแอพพลิเคชั่นหลักเช่นระบบ Core Insurance, Core Banking, Loan Application เป็นต้น รวมทั้งการแจ้งผลการอนุมัติแก่ลูกค้าทางอีเมลและเปิดใช้บริการที่ร้องขอต่อไป

กระบวนการ RPA สำหรับงาน KYC/CDD ของสถาบันการเงินสามารถช่วยให้องค์กรประหยัดชั่วโมงการทำงานของเจ้าหน้าที่ลงได้มาก เนื่องจากปริมาณคำขอเปิดบัญชีประเภทต่าง ๆ มีจำนวนมากในแต่ละวัน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่สถาบันการเงินต่าง ๆ มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกสู่ท้องตลาดอยู่ตลอดเวลา ประกอบกับวิถีชีวิตของประชาชนที่มีความสะดวกเพิ่มขึ้นในเรื่องการคมนาคมและการเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ทำให้การตัดสินใจขอเปิดบัญชีใหม่เป็นเรื่องง่ายและทำได้เร็ว ในขณะที่งาน KYC/CDD เองถือเป็นการปฎิบัติตามกฎของหน่วยงานกำกับดูแลซึ่งไม่ควรให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้

ส่วนการเลือกใช้ประเภทของโรบอทว่าควรใช้แบบ attended ในส่วนไหนและ unattended ในส่วนไหนสามารถยึดตาม Diagram หรือปรับใช้สำหรับการทำงานในสภาวะแวดล้อมของเราเองซึ่งขึ้นอยู่กับ ช่องทางการติดต่อกับลูกค้า ข้อจำกัดด้านบุคคลากร ปริมาณธุรกรรมที่มี เป็นต้น

ผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทั้งท่านที่กำลังคัดเลือกกระบวนการทำงานเพื่อนำมาเป็นพัฒนาเป็นระบบงานอัตโนมัติไม่ว่าท่านจะมีการใช้งาน RPA อยู่แล้วในองค์กร หรือกำลังประเมินความคุ้มค่าในการเริ่มนำเข้ามาใช้ครับ

แล้วพบกันใหม่ครับ….