การปรับเปลี่ยนแอพพลิเคชั่นหรือการจัดหาแอพพลิเคชั่นใหม่เข้ามาใช้งานในองค์กร นับเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องมีการตัดสินใจอย่างรอบคอบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแผนกต่างๆในองค์กร การสร้างความสามารถในการแข่งขัน และการปรับตัวเข้ากับสภาพการทำงานและความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วขึ้นเรื่อยๆ
แต่เนื่องจาก “เวลา” และ “งบประมาณ” ยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญของการพิจารณาแนวทางการทำงานของโครงการไอทีอยู่เสมอ เราจึงได้เห็นเทคโนโลยีอย่างการทำ automation เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานบนระบบงานที่มีอยู่แล้วให้รวดเร็วขึ้น มีข้อผิดพลาดน้อยลง หรือเห็นเทคโนโลยีในด้าน application integration ที่ทำให้ระบบงานต่างๆที่มีอยู่สามารถเชื่อมต่อกัน เพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของระบบที่มีอยู่ ก่อนจะถึงเวลาที่ต้องลงทุนจริงๆเพื่อเปลี่ยนเป็นระบบใหม่
จากประสบการณ์ที่ทีมงาน Automat เราได้ทำงานร่วมกับลูกค้าหลายรายที่ยังมีการใช้ระบบงานที่ได้รับการพัฒนามาแล้วหลายปีหรือที่เรียกว่าระบบ Legacy อยู่ เช่นระบบงานบัญชีหรือระบบ HR ที่พัฒนาบนฐานข้อมูลชนิดเก่ามากระบบ Core Leasing หรือ Core Insurance ที่ยังทำงานอยู่บนเครื่อง AS400 เป็นต้น องค์กรยังคงใช้งานระบบเหล่านี้อยู่เนื่องจากความเสถียรของระบบเองที่ได้รับการพิสูจน์แล้วอย่างยาวนาน และการที่ต้องลงทุนสูงทั้งในแง่ตัวระบบเองและการเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานถ้าคิดจะนำระบบใหม่เข้ามาใช้งานแทน แต่ปัญหาหรือความท้าทายของการใช้แอพพลิเคชั่นอายุยืนที่องค์กรเหล่านี้ต้องเจอก็คือ
- ขาดการเชื่อมต่อกับระบบอื่น – ในกรณีที่ผู้ใช้งานมีความต้องการเพิ่มขึ้นจากสภาพการทำงานในปัจจุบัน เช่นอยากเพิ่มการติดต่อกับลูกค้าผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย หรือต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับแอพพลิเคชั่นที่อยู่บนระบบคลาวด์ จะทำได้ลำบากเนื่องจากเป็นระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อนานมาแล้ว โปรแกรม API ต่างๆยังไม่มีให้ใช้หรือขาดบุคคลากรที่พัฒนาได้
- ไม่สามารถรองรับรูปแบบการเข้าใช้งานที่เปลี่ยนไป – ระบบแอพพลิเคชั่นสมัยใหม่รองรับการทำงานนอกสถานที่หรือการทำงานจากที่บ้าน อีกทั้งยังสามารถใช้งานผ่าน device ได้หลายแบบ สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้คน แต่ระบบ Legacy ไม่สามารถทำได้แบบนี้
- ไม่สามารถเพิ่มเติมฟังชั่นการทำงานได้ – ระบบ Legacy ที่เก่ามากๆจะไม่มีการอัพเกรดเวอร์ชั่นใหม่ๆแล้ว ทางเดียวที่จะเพิ่มฟังชั่นการทำงานได้ก็คือการเปลี่ยนไปใช้ซอฟท์แวร์ตัวใหม่เลยหรือถ้าไม่เก่ามาก ยังพอหาทีมงานที่สามารถพัฒนาต่อยอดได้ ทางผู้บริหารก็จะเกิดความลังเลว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าหรือไม่ กลัวว่าเสียเงินลงทุนพัฒนาไปแล้วจะใช้ไปอีกไม่นาน ทำให้ผู้ใช้งานต้องอยู่กับระบบเดิมต่อไป
อย่างไรก็ตาม จากเคสที่เราพบ เครื่องมีอที่ใช้พัฒนาระบบงานอัตโนมัติอย่าง RPA (Robotic Process Automation) สามารถใช้กับระบบงาน Legacy ได้ค่อนข้างดี เนื่องจากความแม่นยำของการจับปุ่ม ตาราง และข้อความต่างๆผ่านหน้าจอแอพพลิเคชั่นตามแบบที่มนุษย์ทำงาน และเมื่อศึกษาเปรียบเทียบเทคโนโลยีหรือแนวทางต่างๆในการเชื่อมต่อระบบแอพพลิเคชั่น การใช้ RPA ก็นับเป็นทางเลือกที่น่าสนใจดังข้อมูลในตารางด้านล่าง
จากตารางดังกล่าว ถึงแม้การใช้ RPA จะมีความเหมาะสมหรือคะแนนในเรื่องการขยายระบบ (Scalability) ด้อยกว่าการทำ Integrated application หรือการใช้ API แต่ RPA ก็เป็นโซลุชั่นที่เหมาะสมมากกว่า ถ้ามองจากเรื่อง เวลาที่ทำได้เร็วกว่า ต้นทุนที่ต่ำกว่า และความหลากหลายของฟังชั่นการใช้งาน (Versatility) ที่มากกว่า
นอกจากนี้แล้ว ผู้ผลิตซอฟท์แวร์ RPA บางเจ้ายังมีการเพิ่มส่วนที่เรียกว่า Low-Code Application เข้ามาใน RPA Platform ของตนเอง ทำให้การสร้างฟอร์มหรือ Dashboard สำหรับนำข้อมูลเข้าหรือออกจากระบบแอพพลิเคชั่นทำได้อย่างรวดเร็ว เป็นการนำประโยชน์ของการสร้าง app ที่รวดเร็วของซอฟ์ทแวร์ Low-Code มาใช้งานร่วมกับ RPA ที่มีจุดเด่นของการทำงานกับแอพพลิเคชั่นที่การเชื่อมต่อผ่านการเขียนโปรแกรมหรือ API เป็นไปได้ยาก
ถ้าเราเป็นฝ่ายเทคโนโลยีขององค์กรที่มีหน้าที่แสวงหาระบบหรือเครื่องมือ เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ใช้งานในแผนกต่างๆขององค์กรสามารถทำงานได้สะดวก มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น การเพิ่มช่องทางให้ผู้ใช้งานให้ทำงานกับระบบหลังบ้าน ไม่ว่าจะเป็นระบบที่ทันสมัยอยู่แล้วหรือระบบ Legacy ที่กล่าวถึงในบทความนี้ ย่อมก็ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรในภาพรวม
ตัวอย่างในคลิป YouTube ตอนท้ายของบทความนี้ เป็นการจำลองรูปแบบการทำงานที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องทำงานผ่านหน้าจอของระบบ Legacy แต่เป็นสั่งงานผ่านเว็บที่พัฒนาขึ้นด้วยเครื่องมือ Low-Code ไปที่โรบอท และให้โรบอทป้อนข้อมูลเข้าหรือแสดงผลที่ได้จากระบบ Legacy กลับมาที่ผู้ใช้งานที่ทำงานผ่านหน้าเว็บหรือผ่าน Smart Phone นับเป็นการเพิ่มช่องทางให้ผู้ใช้งานทำงานของตนเองบนระบบ Legacy ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
ยังคงมีการประยุกต์แนวคิดในลักษณะการใช้ low code ในรูปแบบอื่น ๆเพื่อรองรับการทำ business workflow หรือการใช้ RPA ในการทำกระบวนการที่มีความซับซ้อนและขั้นตอนยาวๆ มากๆ มีคนเกี่ยวข้องด้วยหลายแผนกหรือหลายๆคน ผู้เขียนจะขอนำมาเสนอในบทความต่อไปครับ