AI เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เครื่องจักรเรียนรู้จากข้อมูล ตรวจสอบรูปแบบ และตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลนั้น สามารถนำไปใช้ในการผลิต เช่นการตรวจจับข้อบกพร่อง “ทำนาย” การเสื่อมสภาพของเครื่องจักร และการปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยการปรับการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นผ่านการทำ process mining และการใช้ AI ในการประมวลผลข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต คิดและแนะนำผ่าน data analytic ที่สร้างอย่างรวดเร็วได้จาก Generative AI ช่วยให้กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพ การจัดการสินค้าคงคลัง และการวางแผนการผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เร็วและผิดพลาดน้อยได้อีกด้วย
Process
Task
Automation
Production tracking
Measure, analyze and improve visibility throughout the manufacturing process
Use intelligent automation to develop a near real-time overview of progress on orders and the ongoing need for components or raw materials2
Invoice processing
Extract data from invoices, compare with purchase orders, check for duplicates, update records in ERP system
Use RPA bots with OCR to automate the entire invoice processing cycle
ก่อนจบบทความนี้ ขอเล่าถึงการต่อเชื่อมกันของ ChatGPT กับ RPA ซึ่ง Automat เราได้ทดลองทำขึ้นมา โดยเป็นการเชื่อมต่อ ChatGPT กับ UiPath RPA ผ่าน Postman development platform ตาม link ด้านล่างนี้
ในตัวอย่างจะเป็นการจำลองการสร้าง personalized sales proposal จาก keywords ที่พนักงานขายเตรียมไว้ใน MS Excel แล้วให้ RPA robot หยิบไปใส่ใน ChatGPT จากนั้นก็นำผลลัพท์ที่เราสั่งให้ ChatGPT เขียนเป็นข้อความมาสร้างเป็น sales proposalใน MS Word และแนบในอีเมลส่งถึงลูกค้าเป้าหมาย
ในฐานะที่ Automat เราได้ศึกษาและให้บริการโครงการพัฒนาระบบงาน RPA มาตั้งแต่ช่วงแรกของการเริ่มใช้งานRPA อย่างแพร่หลายในประเทศไทย เรามองว่าเรื่องนี้เป็นพัฒนาการที่น่าตื่นเต้นที่ได้เห็นการการเชื่อมต่อของ RPA กับ AI model แล้วสร้างประโยชน์หรือ Use Cases ของการใช้งานได้ทันที ซึ่งในอนาคตก็น่าจะมี AI model อย่างอื่นนอกจากเรื่องภาษาที่สามารถนำมาเชื่อมกับ RPA แล้วก่อให้เกิดเป็นระบบงานที่สร้างประโยชน์อีกมากมายต่อการทำงานของเรา
แนวทางการนำเอา Robotic Process Automation หรือโปรแกรมหุ่นยนต์ไปใช้งานให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจรับประกันสุขภาพ หรือ Health Insurance โดยยกตัวอย่างเรืองการทำ Cliam process ด้วย RPA
ก่อนหน้านี้ทางเราเคยมีบทความเกี่ยวกับ Process Heatmap ของธุรกิจประกันซึ่งให้ภาพว่าขั้นตอนการทำงานไหนบ้างที่เหมาะสมสำหรับการทำเป็นระบบงาน RPA และขั้นตอนไหนที่ดูไม่เหมาะหรือไม่ค่อยคุ้มที่จะทำ ตารางด้านล่างจะเป็นอีก Process Heatmap หนึ่งที่พูดถึงกระบวนการทำงานที่เป็นของ Healthcare Payer อย่างบริษัทประกันสุขภาพ
ส่วนธุรกิจประกันชีวิตหรือประกันภัยที่มีผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพก็สามารถใช้ทั้งสอง Process Heatmap ควบคู่กันไปได้ในการพิจารณา Process ที่เราเลือกปรับให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย RPA
Series ในตอนของ use case ที่น่าสนใจการนำเอา RPA ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการธุรกิจ logistics ตอนที่ 3 โดยแชร์ถึงแนวคิดก่อนการปรับใช้เทคโนโลยี RPA ไปถึงการทำ quick-win ด้วย pilot process ที่ประสบความสำเร็จ ไปจนถึงอนาคตที่จะเลือกเอา Ai + OCR มาใช้ต่อไป มาติดตามกันครับ
องค์กรมีวิธีการคัดเลือกกระบวนการทำงานเพื่อพัฒนาเป็นระบบอัตโนมัติได้ทั้งแบบ top down หรือการวางแผนและเป้าหมายระดับองค์กร ผู้บริหารระดับองค์กรรับทราบและให้การสนับสนุนทรัพยากร มีการจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาระบบ RPA ตามเป้าหมายว่าเรื่องไหนควรหยิบมาทำก่อน กับอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า bottom up โดยมีผู้บริหารระดับหน่วยงาน หรือเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงานเป็นผู้กำหนดความต้องการและขอการสนับสนุนไปยังหน่วยงานไอทีและผู้บริหารระดับองค์กรเพื่อทำโครงการ
ทั้งนี้เครื่องมือหนึ่งที่ผู้บริหารระดับองค์กรและระดับหน่วยงาน รวมถึงเจ้าหน้าที่และคณะทำงานโครงการ RPA สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการเลือก Process ที่เหมาะสมก็คือ Process Heatmap
Process Heatmap เป็นผังของกลุ่มงานที่แสดงถึงระดับความเหมาะสมและโอกาสประสบความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการทำงานให้เป็นระบบ RPA โดยแสดงเป็นความแตกต่างของเฉดสีของแต่ละระดับว่ากลุ่มงานไหนเป็น high potential, medium potential หรือ low potential
ในบทความนี้ผู้เขียนขอกล่าวถึง Process Heatmapที่จัดทำขึ้นสำหรับธุรกิจประกันให้ท่านผู้อ่านรับทราบเป็นตัวอย่างก่อนครับ(Process Heatmap มีทั้งแบบที่แสดงเป็นรายธุรกิจและเป็นรายฟังชั่นงานในองค์กร)
กระบวนการทำงานที่เห็นเป็นสีนำเงินเข้มแสดงกลุ่มงานที่เป็น High Automation Potential กล่าวคือเป็นกระบวนการทำงานที่มีศักยภาพ มีความเหมาะสมกับการพัฒนาให้เป็นระบบงานอัตโนมัติด้วย RPA เนื่องจากมีกฎเกณฑ์การทำงานที่ชัดเจนสามารถสร้างเป็นคำสั่งให้โรบอททำงาน มีปริมาณธุรกรรมสูงใช้เวลามากในการจัดการซึ่งก็หมายถึงประโยชน์สูงที่จะได้รับถ้ากระบวนการทำงานถูกทำด้วยโรบอท มีรูปแบบและขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำสำหรับแต่ละธุรกรรม